สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้ชม 1,805
[16.4346504, 99.250959, สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม]
ชื่อเรื่อง : สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม
วันที่จัดทำ : วันที่ 24 มีนาคม 2563
ประวัติ
ก่อนที่จะทำฟาร์มปูนาเคยทำอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนมีหน่วยงานรัฐบาลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปูนา จึงทดลองเพาะเลี้ยงปูไว้ในที่ว่างหลังบ้าน จากนั้นก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอซื้อไปขายต่อ จึงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงปูนาอย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มเพาะเลี้ยงปูนาได้มากขึ้นแต่บางช่วงตลาดตัน ราคาขายไม่สูง เลยได้นำไปแปรรูปเป็นอาหาร ส่งจำหน่ายแทน โดยจะนำไปวางจำหน่ายตามร้านขายของฝากต่างๆ รวมถึงส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี
ข้อมูลทั่วไป
จุดเด่น : ปูที่เลี้ยงมี 2 สายพันธุ์สายพันธุ์พระเทพตัวจะสีม่วงดำและสายพันธุ์กำแพงเพชรตัวจะสีดำแดงเลี้ยงระบบน้ำใสมีการถ่ายน้ำตลอดไม่เหมือนตามทุ่งนา
รายละเอียด : จะเลี้ยงปูแยกเป็นบ่อจะมีบ่อปูนหนุ่มสาวคือปูที่เลี้ยงมาประมาณ 3-4 เดือนเป็นปูที่พร้อมผสมพันธุ์แล้ว ราคาขายอยู่ที่คู่ละ 60 บาท ปูนาแม่ 1 ตัวจะมีลูกอยู่ที่ประมาณ 600-800 ตัว ถ้าปูนาตามธรรมชาติจะผสมพันธุ์แค่ปีละครั้งในฤดูฝนเท่านั้น ช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ถ้าเป็นปูเลี้ยงจะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ปีละประมาณ 3-4 ครั้ง โดยการจำลองหน้าฝนที่ทำขึ้นทำให้บ่อเกิดความเย็นตลอด ปูสามารถแยกขายกล้ามกับเนื้อปูสดได้กล้ามปูจะอยู่ที่กิโลละ 1,300 บาท ปูสดกิโล ละ 80 - 130 บาท ตามฤดูกาล ต่อมาเป็นบ่อปูอายุประมาณ 1-2 เดือนสามารถขายได้คู่ละ 40 บาทหรือตัวละ 20 บาท บ่อต่อมาเป็นบ่อปูท้องลักษณะเด่นของปูท้องจะชอบอยู่ที่สูงเสมอไม่ให้ท้องโดนพื้น อาหารปูนาจะใช้เป็นอาหารปลาดุก ถ่ายน้ำ 2-3 วันต่อ 1 ครั้ง ปูจะโตไวต้องให้กินกล้วยน้ำว้าและมะพร้าวแก่
ผลผลิตภัณฑ์และการแปรรูป : ปูดองสมุนไพร กะปิปูนา อ่องมันปูนา น้ำพริกเผามันปูนา ปูนาทอดกรอบ ปูนาสามรส ขนมจีนปูนา
ผู้ให้ข้อมูล : นายวิโรจน์ แก้วแสงทอง
ที่อยู่ : 224 บ้านไร่อุดม หมู่ 18 ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 061-582-9748
เว็บไซต์ : สุธีรา ฟาร์มปูนา บ้านไร่อุดม
Facebook : สุธีรา ฟาร์มปูนา บ้านไร่อุดม
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ : Latitude 16.4346504 Longitude 99.250959
ปัญหา
เวลาหน้าแล้งน้ำจะไม่ค่อยไหลจึงไม่มีน้ำไว้สำหรับถ่ายน้ำเปลี่ยนในบ่อเลยทำให้ปูตายมากขึ้น
คำสำคัญ : ปูนา
ที่มา : สุธีรา ฟาร์มปูนา บ้านไร่อุดม
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1808&code_db=610007&code_type=05
Google search
ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อกว่า2,000ปีมาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 624
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 790
เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 683
เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของ รัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 510
เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,498
มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 713
ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 625
ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 695
เครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมั่นคงสำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประดับระดับบน (High — end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำโลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ดีทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 565
ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 527