หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 59,601

[16.4258401, 99.2157273, หญ้าแพรก]

หญ้าแพรก ชื่อสามัญ Bermuda grass, Bahana grass, Creeping-cynodon, Dub grass, Dog's tooth grass, Florida grass, Scutch grass, Lawn grass, Wire grass

หญ้าแพรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynodon dactylon (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)

สมุนไพรหญ้าแพรก มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ทิซั่วเช่า (จีน), สทฺทล (สัด-ทะ-ละ), สทฺทโล (สัด-ทะ-โล) , หริต (หะ-ริ-ตะ) เป็นต้น

ลักษณะของหญ้าแพรก

  • ต้นหญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร
  • ใบหญ้าแพรก ใบจะออกเป็นกระจุกตามข้อของลำต้น โดยจะออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปเส้นยาวหรือรูปใบหอกเรียว ปลายใบแหลมยาว โคนใบมีขนสั้น ๆ สีขาวก่อนถึงส่วนที่หุ้มรอบข้อ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าแพรก ออกดอกเป็นช่อกระจะ ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-6 ช่อย่อย ก้านช่อดอกร่วมยาวได้ประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นเส้นสีเขียวเทาถึงสีม่วง ยาวได้ประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีดอกย่อยเรียงกันเป็นแถว 2 แถว ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร อัดกันแน่นอยู่บนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณูสีม่วงยาว 1.1-5 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 2 เส้น ส่วนปลายเป็นฝอยลักษณะคล้ายขนนก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลหญ้าแพรก เมื่อดอกร่วงจะติดผล ผลหรือเมล็ดจะมีขนาดเล็กมาก ยาวได้ประมาณ 11.5 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นรูปไข่ สีน้ำตาลไปจนสีแดง 

เนื่องจากหญ้าแพรกเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของวิธีการป้องกันและกำจัดนั้นก็ทำได้หลายวิธี เช่น การไถดะเพื่อกลมทำลาย ถ้ายังขึ้นมาได้อีกก็อาจจะต้องไถซ้ำ หากยังมีหลงเหลืออยู่ก็ให้เก็บทำลายไหลและลำต้นให้หมดในขณะที่คราดทำเทือก หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เป็นต้น

สรรพคุณของหญ้าแพรก

  1. ช่วยแก้โรคเบาหวาน (ลำต้น,ทั้งต้น)
  2. ทั้งต้นมีรสขม ชุ่มเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาแก้ลมชัก ตรากตรำทำงานหนัก (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ลำต้น,ทั้งต้น)
  4. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว รวมถึงเหือดหัด และอีสุกอีใส (ทั้งต้น)
  5. ทั้งต้นใช้ต้มกินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ทั้งต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด (ลำต้น,ทั้งต้น)
  7. ช่วยขับลม (ลำต้น,ทั้งต้น)
  8. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ลำต้น)
  9. ยาต้มของต้นหญ้าแพรกใช้กินเป็นยาแก้ท้องเดินเรื้อรังได้ (ลำต้น)
  10. รากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (ลำต้น,ราก,ทั้งต้น) ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
  11. รากใช้เป็นยาแก้ซิฟิลิสในระยะออกดอก (ราก)
  12. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ลำต้น,ทั้งต้น) แก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก (ราก)
  13. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ตกโลหิตระดูมากเกินไปของสตรี (ทั้งต้น)
  14. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ลำต้น,ราก,ทั้งต้น)
  15. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ลำต้น,ทั้งต้น)
  16. ทั้งต้นนำมาตำใช้เป็นยาพอกแผลจากการหกล้มหรือกระทบกระแทก มีดบาด ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ทั้งต้น)
  17. ทั้งต้นนำมาตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกทาแก้พิษอักเสบ ปวดบวม (ทั้งต้น)
  18. ช่วยรักษาพิษไข้มีผื่นต่าง ๆ เช่น เป็นหัด เหือด ดำแดง อีสุกอีใส เป็นต้น ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำและกากพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ลำต้น)
  19. ใช้เป็นยาแก้โรคหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือบดให้ละเอียด ใช้กินเป็นยา (ราก)
  20. ใช้ลำต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำและกากทาหรือพอกแก้อาการปวดข้อ (ลำต้น)
  21. ช่วยแก้อัมพาต แก้อัมพาตครึ่งตัว แขนขาชา ปวดเมื่อยกระดูก ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาชงกับเหล้ากิน (ลำต้น,ทั้งต้น)

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [1] ส่วนของลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ถ้าใช้ภายนอกให้นำต้นสดมาตำคั้นเอาน้ำและกากพอกหรือทาบริเวณที่เป็น ส่วนรากให้ใช้รากแห้งครั้งละประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือบดให้ละเอียด ใช้กินเป็นยา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแพรก

  • จากการทดลองฉีดสารอัลคาลอยด์ของหญ้าแพรก ในขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของกระต่ายทดลอง พบว่าเลือดจากบาดแผลของกระต่ายจะเกิดการแข็งตัวขึ้น และเลือดจะหยุดไหลได้เร็วขึ้น
  • สารอัลคาลอย์บางชนิดในหญ้าแพรกมีฤทธิ์ทำให้การไหลเวียนของโลหิตของหนูและหนูถีบจักช้าลง แต่มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา และมีส่วนที่เป็น Glycoside มีที่ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของแมว
  • สารสกัดจากลำต้นหญ้าแพรกด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื่อ Bacillus subtilis, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Shigella dysenteriae, Staphylococcus aureus, Streptococcus faecalis แต่สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งมีการทดลองกับ Vaccinia virus
  • จากรายการเป็นพิษที่ทำการศึกษาในประเทศอินเดีย ตรวจพบ hydrocyanic acid ในพืชนี้ ทำให้สัตว์ที่กินพืชนี้เข้าไปเกิดอาการเป็นพิษ โดยมีอาการกล้ามเนื้อหน้าชักกระตุก สัตว์เกิดอาการกัดฟัน ตามมาด้วยมีความดันโลหิตสูง และส่งผลให้สัตว์ตายในเวลาต่อมา

ประโยชน์ของหญ้าแพรก

  • หญ้าแพรกเป็นแหล่งของอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับสัตว์จำพวกแทะเล็มได้เป็นอย่างดี เช่น พวกโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น (แม้ในฤดูร้อนก็ยังเชียวชอุ่มให้สัตว์แทะเล็มกินได้)
  • คุณค่าทางโภชนาการทางอาหารสัตว์ของหญ้าแพรกที่มีอายุประมาณ 45 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 9.7%, เยื่อในส่วน ADF 31.5%, NDF 67.7%, แคลเซียม 0.5%, ฟอสฟอรัส 0.12%, โพแทสเซียม 1.54%, ลิกนิน 6.4%
  • ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างดินได้ดี แต่รากจะไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดินพังทลายได้เหมือนหญ้าแฝก
  • ทั้งต้นสดใช้ในพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ศิษย์มีปัญญาแตกฉานได้รวดเร็วประดุจหญ้าแพรกที่แตกทอดไปตามพื้นดิน (ใช้ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ)

ความหมายของหญ้าแพรก

ในพานดอกไม้ไหว้ครูนั้นจะประกอบไปด้วย ดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก โดยดอกเข็มนั้นมีลักษณะแหลมคล้ายเข็ม มีความหมายในการอธิษฐานว่า ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลมดุจดั่งเข็ม ส่วนดอกมะเขือนั้นเวลาบานมันจะคว่ำลง มีความหมายในการอธิษฐานว่า ศิษย์จะน้อมรับวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ

ในส่วนของหญ้าแพรกนั้น เป็นหญ้าที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ผู้ใด เมื่อเหยียบย่ำมันมันก็ไม่ทำให้เราบาดเจ็บ หญ้าแพรกจึงมีความหมายในการอธิษฐานว่า ศิษย์จะเป็นผู้มีความอ่อนน้อมและไม่โกรธตอบ แม้ว่าครูจะเฆี่ยนตีหรืออบรมสั่งสอนก็จะไม่โกรธ ไม่คิดอาฆาต พยาบาท เพราะครูทำไปด้วยความหวังดีมีเมตตาอยากให้ศิษย์เป็นคนดี

แม้ในฤดูแล้งเองที่พรรณไม้ชนิดอื่นต้องแห้งเหี่ยวตายไปตาม ๆ กัน หรือครั้นในถึงฤดูฝน ที่มีฝนตกมากจนน้ำท่วมขังทำให้พรรณไม้ชนิดอื่นตายหมด แต่หญ้าแพรกเองก็ยังมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่แห้งเหี่ยวหรือเน่าตาย หญ้าแพรกจึงมีความหมายในการอธิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่า ให้ศิษย์นั้นเป็นผู้มีความอดทนในการศึกษาเล่าเรียน

หญ้าแพรกยังเป็นพืชฟื้นตัวหรือเจริญเติบโตได้งอกงามและแพร่กระจายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าใช้หญ้าแพรกไว้ครูแล้วจะทำให้ลูกศิษย์เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรก และประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาได้อย่างรวดเร็วประดุจดั่งหญ้าแพรกที่แตกทอดแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นดิน

นอกจากนี้หญ้าแพรกยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างทางฐานะและสังคมของศิษย์ไม่ให้แข่งขันหรืออวดร่ำอวดรวย ไม่เห็นใครสูงกว่าหรือต่ำกว่า ไม่ต้องหาของมีค่ามาไหว้ครูซึ่งอาจทำให้เห็นคุณธรรมในตัวครูลดลงจากพฤติกรรมของศิษย์ได้ นี่จึงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ครูอาจารย์ในสมัยก่อนวางบรรทัดฐานให้ครูและศิษย์ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาด้วยความเคารพไม่ให้เห็นว่าใครสูงหรือต่ำ หญ้าแพรกจึงได้ชื่อว่าเป็นอาภรณ์ของแผ่นดิน

ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้หญ้าแพรกเพื่อบูชาพระพิฆเนศ เพราะเขาถือ ว่าพระพิฆเนศเป็นครู เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ และยังมีความเชื่ออีกหลายความเชื่อที่เชื่อว่าหญ้าแพรกเป็นของศักดิ์สิทธิ์

 

คำสำคัญ : หญ้าแพรก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หญ้าแพรก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1759&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1759&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง  ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก  ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,219

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,006

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,908

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,033

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,265

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,806

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,832

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,190

มะกล่ำเผือก

มะกล่ำเผือก

ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,384

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 2,052