มะเขือเปราะ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 8,685
[16.4258401, 99.2157273, มะเขือเปราะ]
มะเขือเปราะ ชื่อสามัญ Thai Eggplant, Yellow berried nightshade ส่วนอินเดียเรียก Kantakari
มะเขือเปราะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum virginianum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum mairei H. Lév., Solanum xanthocarpum Schrad. & H. Wendl.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
มะเขือเปราะ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเขือขัยคำ มะเขือคางกบ มะเขือจาน มะเขือแจ้ มะเขือแจ้ดิน มะเขือดำ (ภาคเหนือ), มะเขือหืน (ภาคอีสาน), มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง), เขือพา เขือหิน (ภาคใต้), มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หวงกั่วเชี๋ย หวงสุ่ยเชี๋ย (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของมะเขือเปราะ
- ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล
- ใบมะเขือเปราะ ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ
- ดอกมะเขือเปราะ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว
- ผลมะเขือเปราะ ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
- ที่ประเทศอินเดียจะใช้น้ำต้มจากผลมะเขือเปราะเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ผล)
- ผลใช้เป็นยาลดไข้ (ผล)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน กระทุ้งพิษไข้ ใช้เป็นยาขับน้ำชื้น(ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
- ผลตากแห้งนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ ส่วนการแพทย์อายุรเวทของอินเดียจะใช้รากมะเขือเปราะเป็นยารักษาอาการไอ (ราก, ผล)
- รากใช้เป็นยาแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ (ราก)
- ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำอมในปาก (ราก)
- ช่วยขับลม (ราก)
- ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยในการขับถ่าย (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร(ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
- ผลมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ผล)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
- ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (ผล)
- ใช้เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ 15 กรัม, หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
- ใบสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกแก้พิษ แก้ฝีหนอง (ใบสด)
- ช่วยลดการอักเสบ (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดบวม ปวดหลัง ฟกช้ำดำเขียว (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
- ใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70-100 กรัม นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (ผล)
หมายเหตุ : การใช้ตาม [3] ผลแห้ง รากแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนผลสดนำมาตุ๋นกับไก่ หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยสามารถใช้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ นอกจากนี้ในพืชตระกูลเดียวกันยังมีมะเขืออีกสองชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมะเขือเปราะ สามารถนำมาใช้แทนกันได้ คือ Solanum aculeatissimum Jacq. (มะเขือขื่น) และ Solanum coagulans Forks
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือเปราะ
- ผลพบสาร Capresterol, Diosgenin, Solanine, Solanines, Solasonine, Solacarpine และพบน้ำมันอีกเล็กน้อย กับสารอัลคาลอยด์ต่าง ๆ เช่น ทั้งต้นพบแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
- ในประเทศอินเดียได้นำมะเขือเปราะทั้งต้นมาสกัดเอาสารอัลคาลอยด์ไปใช้ในการรักษาอาการไข้ตัวร้อน แก้ไอ และโรคหัวใจ โดยพบว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นทำให้หัวใจบีบตัวได้แรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้การบีบตัวของหัวใจลดลง
- จากงานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต และต้านมะเร็ง
- ผลมะเขือเปราะมีสารไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล จากการทดสอบฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า สารทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งตับ
- จากงานวิจัยในแคว้นโอริสสา ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน โดยผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเทียบเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide) และยังมีการทดสอบเพิ่มเติมที่พบว่า สารสกัดนี้จะออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน
- สารโซลาโซดีนถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศ
- จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าสารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใด
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
- ในบ้านเราจะกินผลมะเขือเปราะสีเขียวเป็นอาหาร ทั้งกินดิบจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงป่า แกงเผ็ด และอื่นๆ
- มะเขือเปราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 39 กิโลแคลอรี, โปรตีน 1.6 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม, น้ำ 90.2 กรัม, วิตามินเอรวม 143 RE., วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม, วิตามินซี 24 มิลลิกรัม, แคลเซียม 7 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม
- การรับประทานมะเขือเปราะเป็นประจำจะช่วยต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
- มะเขือเปราะมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
- มะเขือเปราะมีประโยชน์ต่อตับอ่อน เพราะทำให้ตับแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : มะเขือเปราะ
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือเปราะ. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1700&code_db=610010&code_type=01
Google search
หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,976
ต้นกระวานเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบกระวานใบเดี่ยว แคบยาว ปลายแหลม ดอกกระวานช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ผลกระวานค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,039
ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,192
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นล้มลุกระบบรากแก้ว เนื้อไม้อ่อน แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มสูง ประมาณ 40-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นลักษณะเรียงสลับกัน รูปไข่ ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งมน ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 2 – 4 ซม.มีขนขึ้นปกคลุมก้านใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบมีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นสีเขียวบาง ๆ 5 กลีบ มีขน กลีบเลี้ยงจะเจริญขยายใหญ่ขึ้นมากหุ้มผลคล้ายโคมไฟจีน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน บริเวณส่วนฐานของกลีบ มีเกสตัวผู้ 5 อัน ติดที่ฐานกลีบดอก เกสรตัวเมียเป็นเส้นตรงและมีตุ้มที่ปลาย รังไข่แบ่งเป็น 2 ห้อง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,780
สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 24,419
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,705
มะนาวผี มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้นๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 2,808
ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,527
พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,257
หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,581