แก้ว

แก้ว

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 8,828

[16.4258401, 99.2157273, แก้ว]

แก้ว ชื่อสามัญ Andaman satinwood, Chanese box tree, Cosmetic bark tree, Orange jasmine, Orange jessamine, Satin wood
แก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack  (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Murraya exotica L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรแก้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จ๊าพริก (ลำปาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), แก้วขาว (ภาคกลาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี), จิ๋วหลี่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นแก้ว
        ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน
        ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ
         ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
         ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร

สรรพคุณของต้นแก้ว
1. ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
2. ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก)
3. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก, ใบ)
4. ช่วยแก้อาการไอ (ดอก, ใบ)
5. ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ (ราก, ก้าน, ใบสด) บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม
    นำมาต้มใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน (ก้านใบ, ใบสด)
6. รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม (ราก)
7. รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก)
8. ใบช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ)
9. ช่วยแก้บิด (ใบ)
10. ใบช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ใบ)
11. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก, ใบ)
12. ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ใบแก้วแห้ง, กานพลู, เจตพังคี, และเปลือกอบเชย นำมาบดเป็นผงใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นยารับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำผงที่
     ได้มาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลืองก็ได้ โดยใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ใบแห้ง)
12. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด (ใบ)
13. ใบใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรี (ใบ) หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม (สดให้ใช้ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
      หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (รากแห้ง)
14. รากและต้นแห้งนำมาหั่นและต้มเคี่ยวแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ ช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรี โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มกับน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก (ราก, ต้นแห้ง)
15. รากใช้เป็นยาแก้ฝีในมดลูก (ราก)
16. รากสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (รากสด) ใช้เป็นยาแก้แผลคัน (ราก)
17. ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (ราก, ก้าน, ใบสด) แก้อาการคันที่ผิวหนัง (ราก)
18. แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้รากและใบสดนำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย (ราก, ใบสด) แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)
19. รากสดมีรสเผ็ดสุขุม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้แผลฟกช้ำได้ (รากสด) แก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก) แก้แผลเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทบกระแทก (ใบ)
20. ช่วยแก้ฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบแก้วสด, ขมิ้น, ขิง และไพร นำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้า แล้วนำไปคั่วให้ร้อน นำผ้าสะอาดห่อ ใช้เป็นยาประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำประมาณ
      20-30 นาที โดยให้ทำวันละ 2-3 ครั้ง (ใบสด)
21. รากใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดบวม แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) บ้างว่าใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยใช้ตุ๋นกับหาง
      หมูเจือกับสุราใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยเอว (รากแห้ง)
22. ก้านและใบสดเมื่อนำมาบดแช่กับแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดได้ (ก้านใบ, ใบสด)
23. ดอกและใบใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ (ดอก, ใบ)

วิธีและปริมาณที่ใช้ของสมุนไพรแก้ว
1. รากและใบแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-18 กรัม แต่หากเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม
2. ใช้เป็นยารักษาภายใน เพื่อแก้อาการท้องเสีย แก้บิด และขับพยาธิ ให้ใช้ก้านและใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานหลัง
    อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือจะนำมาดองกับเหล้าแล้วใช้ดื่มแต่เหล้าครั้งละ 1 ถ้วยตะไลก็ได้
3. ใช้เป็นยาภายนอก ให้ใช้ก้านและใบสดนำมาตำแล้วพอกหรือจะคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่เป็น หรืออีกวิธีให้ใช้ใบแห้งนำมาบดเป็นผงใช้โรยใส่แผลก็ได้ หากใช้เป็นยาแก้ปวดหรือเป็นยา
    ชาเฉพาะที่ก็ให้ใช้ใบและก้านสดที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% ถ้าเป็นในส่วนของรากแห้งหรือรากสดก็ให้นำมาตำแล้วพอก หรือจะนำไปต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นแก้ว
1. ในใบมีน้ำมันหอมระเหย 0.25 โดยประกอบไปด้วยสาร Bisabolene, Carene, Citronellol, Eugenol, Geraniol, I-Candinenem, Paniculatin, Phebalosin, Methyl Anthranilate,
    Scopoletin, Scopolin
2. ในกิ่ง เปลือกก้าน และผลของต้นแก้วมีสาร Mexoticin I, Hibiscetin, Heptamethyleeher I
3. สารสกัดจาก Petroleum ether ของต้นแก้ว เมื่อนำมาทดลองกับลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กของหนูขาวที่ทำการผ่าออกจากร่าง พบว่าสารดังกล่าวมีประสิทธิภาพทำให้การเกร็งตึงที่กล้าม
    เนื้อเรียบของลำไส้มีการหย่อนคลาย
4. จากการทดลองกับหัวใจที่ออกจากร่างของกบพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเต้นของหัวใจของกบด้วย
5. สารจากต้นแก้วที่ทำการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือช่วยยับยั้งเชื้อ Bacullus Inuza และเชื้อ Btaphylo Coccus ได้

ประโยชน์แก้ว
1. ก้านใบสามารถนำมาใช้ทำความสะอาดฟันได้
2. ผลสุกสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้
3. ต้นแก้วเป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดแต่งเป็นพุ่มได้ง่าย เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีและไม่ต้องการการบำรุงรักษามากนัก เพียงแต่รดน้ำเพียงครั้งคราวเท่านั้น        จึงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ประธานตามสวนหย่อม ริมทะเล ฯลฯ โดยจะปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือใช้ปลูกแบบเป็นกลุ่มๆ ก็ได้ หรือใช้ปลูกเป็นรั้วบังสายตา ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
    ก็ได้ อีกทั้งยังออกดอกดก ดอกมีความสวยงามและมีกลิ่นหอม (การปลูกจากกิ่งตอนจะเป็นไม้พุ่ม แต่การปลูกในที่ร่มใบจะเขียวเข้ม มีกิ่งยืดยาว และให้ดอกน้อย)
4. คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นแก้วไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีแต่ความดีและมีคุณค่า เนื่องจากคำว่า "แก้ว" นั้นมีความหมายว่า สิ่งที่ดีและมีคุณค่า เป็นที่
    นับถือของคนทั่วไป เพราะคนโบราณได้เปรียบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เหมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านที่ปลูกต้นแก้วไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านเป็นผู้มี
    จิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เปรียบเสมือนแก้วที่มีความสดใสและมีความใสสะอาด และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันตกและควรปลูกในวันพุธ
    เพราะในโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้ดอกเพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันพุธ
5. ดอกแก้วยังถูกนำมาใช้บูชาพระในพิธีทางศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย
6. ในต่างประเทศ เช่น ชาวเกาะชวามีความเชื่อว่าต้นแก้วสามารถช่วยขับไล่วิญญาณร้าย แม่มด หรือปีศาจ และช่วยในการปัดเป่าโชคร้ายต่าง ๆ และยังนำความสุขสมหวังมาให้ จึงมีการปลูก
    เป็นไม้ดับกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งต้นแก้วยังถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ โดยมีตำนานเล่าว่าสุลต่านแห่งยอกยาการ์ต้า มักจะหาที่พักสงบจิตใจและรวบรวมสมาธิใกล้ ๆ กับต้นแก้ว        ก่อนที่จะเสด็จเพื่อเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือเรื่องที่เกี่ยวกับบ้านเมือง ต้นแก้วจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมีสมาธิและสติปัญญาไปโดยปริยาย นอกจากนี้ในพิธีแต่งงาน ดอกแก้วยัง
    เปรียบเสมือนคำอวยพรถึงคู่บ่าวสาวที่ขอพรให้ใช้ชีวิตคู่กันอย่างสุขสมหวังและหอมหวานเสมือนกลิ่นของดอกแก้วนั่นเอง อีกทั้งใบของต้นแก้วก็นำมาใช้ในพิธีศพด้วย โดยมักจะใช้โรยบน
    พื้นก่อนนำศพลงไปวาง เพราะใบแก้วมีกลิ่นหอมที่สดชื่น จึงช่วยดับกลิ่นเหม็นคลุ้งของศพได้นั่นเอง
7. เนื้อไม้ของต้นแก้วเมื่อนำมาแปรรูปใหม่ ๆ จะเป็นสีเหลืองอ่อน พอนานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมสีเทา เนื้อไม้มีเสี้ยนตรงหรือสน มีความละเอียดอย่างสม่ำเสมอ และมักมีลายพื้นหรือ
    ลายกาบในบางต้น สามารถเลื่อย ผ่า ไส ขัด หรือนำมาตบแต่งได้ดี อีกทั้งยังมีลายไม้ที่สวยงาม โดยเนื้อไม้นั้นจะนิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายในบ้าน ภาชนะต่างๆ
    หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือ ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ไม้เท้าไม้ตะพด กรอบรูป เครื่องดนตรี ซออู้ ซอด้วง เครื่องกลึง ฯลฯ
8. มีข้อมูลระบุว่าสารสกัดจากต้นแก้วใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ยาลดน้ำหนักในประเทศมาเลเซีย ซึ่งในโฆษณาระบุว่ามันเป็นสูตรยาสมุนไพรเก่าแก่ โดยมีสรรพคุณในการช่วยลดความ
    อยากอาหารได้โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

คำสำคัญ : แก้ว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แก้ว. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1572&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1572&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กกธูปฤาษี

กกธูปฤาษี

ต้นกกธูปฤาษีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ใบกกธูปฤาษีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 2-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 7,549

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,686

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 13,312

ครอบจักรวาล

ครอบจักรวาล

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้าน จะมีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุม  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบกว้างรูปร่างแบบใบโพธิ์ ปลายใบไม่เรียวแหลมมากเหมือนใบโพธิ์ ขอบใบเป็นหยัก ฐานใบโค้งมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ใกล้ฐานดอกมีรอยต่อที่ก้านดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงติดกันสีเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ปลายสุดของดอกมีผนังรังไข่เรียงติดกันเป็นกลีบ รัศมีวงกลม  ผลมีลักษณะเป็นกลีบๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟือง 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. หนา 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เมล็ดรูปไต

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,443

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,682

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 16,967

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,899

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 8,538

ข่า

ข่า

ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,333

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 25,807