ผักแว่น

ผักแว่น

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 11,242

[16.4258401, 99.2157273, ผักแว่น]

ผักแว่น ชื่อสามัญ Water clover, Water fern, Pepperwort

ผักแว่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Marsilea crenata C. Presl จัดอยู่ในวงศ์ MARSILEACEAE

สมุนไพรผักแว่น มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้), หนูเต๊าะ (กระเหรี่ยง-ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ผักก๋ำแหวน เป็นต้น

หมายเหตุ : ผักแว่นเป็นพืชคนละชนิดกับ "ส้มกบ" เพียงแต่มีชื่อเรียกเหมือนกันว่า "ผักแว่น" อีกทั้งยังมีลักษณะคล้ายกัน จึงอาจทำให้จำสับสนได้

ลักษณะของผักแว่น

  • ต้นผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้น ๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน 
  • ใบผักแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบพัด โดยมีใบย่อย 4 ใบคล้ายกังหัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปลิ่มหรือเป็นไข่กลับ แต่ละใบย่อยมีขนาดเท่ากัน ออกจากตรงกลางจากตำแหน่งเดียวกันเป็นลักษณะกลม โดยขนาดของใบย่อยจะมีความกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.8-1.8 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย แผ่นใบมีลักษณะเรียบและไม่มีขน ใบย่อยจะไม่มีก้าน ส่วนก้านใบจะมีความยาวประมาณ 4.5-15 เซนติเมตร ใบมีสปอร์โรคาร์ป (Sporocarps) ออกที่โคนก้านใบเป็นก้อนแข็ง ๆ ออกเดี่ยว ๆ หรือออกหลายอัน มีสีดำ ก้านยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลักษณะของสปอโรคาร์ปรูปขอบขนานยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร บนก้านชูสั้นๆ โดยจะออกที่โคนก้านใบ ขณะที่อ่อนอยู่เป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำและร่วงได้ง่าย และภายในจะมีสปอร์จำนวนมาก
  • ดอกผักแว่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีสีเหลือง ส่วนข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า ดอกมีกลีบเป็นสีม่วง มีขนาดเล็ก ออกตามซอกใบ มีผลแห้งและแตกได้ (จุดนี้ผู้เขียนเข้าใจว่าข้อมูลนี้น่าจะเป็นดอกของบัวบกเสียมากกว่า ซึ่งอาจเกิดความสับสนในการลงข้อมูล เพราะบัวบกก็มีชื่ออื่นที่เรียกว่า "ผักแว่น" เช่นกัน และผู้เขียนเข้าใจว่าผักแว่นในบทความนี้น่าจะไม่มีดอก หรือผมไม่เคยเห็นก็ไม่ทราบได้)

สรรพคุณของผักแว่น

  1. ผักแว่นมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง (ต้น)
  2. ผักแว่นช่วยลดไข้ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  3. ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ต้น)
  4. ทั้งต้นใช้ผสมกับใบธูปฤาษี ทุบพอแตก ใช้แช่น้ำที่มีหอยขมเป็น ๆ อยู่ ประมาณ 2-3 นาที นำมาดื่มเป็นยาแก้ไข้ และอาการผิดสำแดงได้ (ทั้งต้น)
  5. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ต้น)
  6. ผักแว่นมีรสจืดและมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ระงับอาการร้อนใน แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม, ต้น)
  7. ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคตาอักเสบ รักษาต้อกระจก ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน (ใบ, ต้น)
  8. น้ำที่ได้จากการนำใบผักแว่นมาต้มช่วยสมานแผลในปากและลำคอได้ (ใบ, ต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  10. ทั้งต้นใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้เจ็บคอ อาการเสียงแหบ (ใบ, ทั้งต้น)
  11. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  12. เนื่องจากมีเส้นใยอาหารมากจึงช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูกได้ (ต้น)
  13. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  14. ช่วยแก้ดีพิการ (ต้น)
  15. ใบสดใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง และช่วยลดการอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทาบริเวณแผล (ใบ)
  16. มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)
  17. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ต้น)
  18. ปัจจุบันมีการนำไปพัฒนาเป็นยาชนิดครีมที่นำมาใช้ทาเพื่อรักษาแผลอักเสบหลังการผ่าตัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)

ประโยชน์ของผักแว่น

  • ใบอ่อน ยอดอ่อน และก้านใบใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ ซุปหน่อไม้ ใช้เป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ทำแกงจืด แกงอ่อม เจียวไข่ เป็นต้น[1],[2],[3],[8] และเมื่อนำมาต้มจะมีลักษณะอ่อนนิ่มทำให้รับประทานได้ง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ
  • ในประเทศอินโดนีเซีย ในเมืองสุราบายา นิยมใช้ผักแว่นนำมาเสิร์ฟร่วมกับมันเทศและเพเซล (Pacel) หรือซอสเผ็ดที่ผลิตจากถั่วลิสง

    คำแนะนำในการรับประทานผักแว่น

    • สำหรับผู้เป็นมะเร็งไม่ควรรับประทาน (ข้อมูลไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ว่าเพราะอะไรถึงไม่ควรรับประทาน)
    • ตามตำนานหรือพิธีกรรมทางศาสนาของชาวเหนือมีความเชื่อว่า หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผักแว่น เนื่องจากผักแว่นมีลักษะของลำต้นเป็นเครือ โดยเชื่อว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ไปพันคอของเด็กทารกในท้องได้ ทำให้คลอดยาก หรือมีอาการปวดท้องก่อนคลอดนาน เปรียบเหมือนว่ารากผักแว่นยึดติดกับโคลนอยู่

คำสำคัญ : ผักแว่น

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักแว่น. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1716&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1716&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,310

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,879

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,597

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 4,932

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,039

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,028

ผักขวง

ผักขวง

ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,279

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,717

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,252

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,133