อินจัน

อินจัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 6,273

[16.4258401, 99.2157273, อินจัน]

อินจัน ชื่อสามัญ Gold apple
อินจัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour. จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)
สมุนไพรอินจัน มีชื่อเรียกอื่นว่า จัน, อิน, จันอินจันโอ, จันอิน, จันลูกหอม, จันท์ลูกหอม, จันขาว, ลูกจัน, ลูกอิน, จันอิน, ลูกจันทน์, ลูกจันทร์ เป็นต้น
ข้อควรรู้ ! : ต้นจันอินยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

ลักษณะของอินจัน
        ต้นจันอิน เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-20 เมตร เรือนยอดเป็นทรงกลมหรือทรงกระสวย หนาทึบ ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเข้มอมเทาหรือดำแตกเป็นสะเก็ด เนื้อไม้สีขาว ส่วนกิ่งอ่อนยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และมีกิ่งก้านเหนียว
        ใบอินจัน เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับกัน ใบคล้ายรูปรี โคนใบมน ปลายใบสอบหรือแหลม แผ่นใบเรียบบางเป็นมันลื่น ขอบใบเรียบ ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร
         ดอกอินจัน ดอกมีสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ตามส่วนต่าง ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบเรียงเป็นรูปถ้วยแต่ไม่เชื่อมกัน ส่วนกลีบดอกมี 4-5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามกิ่งเล็ก ๆ กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจะเหมือนดอกเพศผู้แต่ใบใหญ่กว่า
         ผลไม้อินจัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 4-8 เซนติเมตร ที่ผลจะมีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่จุก ผลอ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมและมีรสหวาน สามารถรับประทานได้ โดยผลอินจันจะมีอยู่สองแบบคือ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้น ไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดลีบ ผลมีรอยบุ๋มตรงกลาง รสฝาดหวาน มีกลิ่นหอม จะเรียกว่า ลูกจัน ส่วนผลที่มีลักษณะของผลเป็นรูปกลมและมีเมล็ด 2-3 เมล็ด ไม่มีรอยบุ๋ม มีรสฝาดหวาน จะเรียกว่า ลูกอิน โดยผลอินจันจะมีรสฝาด ต้องคลึงให้ช้ำก่อนรสฝาดจึงจะหายไป

ประโยชน์ของอินจัน
1. จากงานศึกษาวิจัยผลไม้ในไทยพบว่า น้ำผลไม้ไทยจากลูกอินจัน มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
2. ผลไม้ชนิดนี้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงได้
3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ (แก่น)
4. ช่วยบำรุงกำลังให้สดชื่น (ผล, เนื้อไม้)
5. ช่วยแก้ลม แก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
6. ช่วยบำรุงเลือดลม (เนื้อไม้)
7. ช่วยบำรุงหัวใจ (แก่น)
8. เนื้อไม้ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงประสาท ทำให้เกิดปัญญา (เนื้อไม้)
9. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ อาการกระสับกระส่าย (ผล)
10. ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (เนื้อไม้, แก่น)
11. ช่วยแก้อาการเหงื่อมาก (เนื้อไม้)
12. ช่วยแก้ไข้ (เนื้อไม้, หรือใช้แก่นนำไปต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น)
13. ช่วยแก้ไข้ที่มีผลต่อดี (แก่น)
14. ช่วยแก้กำเดา (แก่น)
15. ช่วยแก้อาการไข้ที่มีผลต่อตับและดี (เนื้อไม้)
16. ช่วยแก้อาการไอ (แก่น)
17. ช่วยบำรุงตับและปอดให้เป็นปกติ (เนื้อไม้, แก่น)
18. ช่วยแก้ปอดตับพิการ (เนื้อไม้)
19. ช่วยแก้ตับพิการ (แก่น)
20. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผล)
21. ช่วยแก้ดีพิการ (เนื้อไม้)
22. ช่วยขับพยาธิ (เนื้อไม้)
23. ผลสุกมีรสหวานและฝาดเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือนำไปแปรรูปเป็นของหวาน
24. เนื้อไม้แข็ง จึงมักถูกตัดนำมาทำเป็นฟืนเป็นถ่าน
25. เนื้อไม้อินจันเป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม ทำให้เป็นที่นิยมในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ประดับตกแต่ง แต่ในปัจจุบันนี้จัดเป็นไม้หวงห้ามไปแล้ว เพราะหายากและใกล้สูญพันธุ์

คำสำคัญ : ว่านมหาเมฆ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อินจัน. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1612&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1612&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,699

มหาหงส์

มหาหงส์

ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,625

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,608

มะเขือพวง

มะเขือพวง

มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,288

ผกากรอง

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 10,321

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,245

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,384

ผักขี้มด

ผักขี้มด

ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,052

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,855

กะทกรก

กะทกรก

ต้นกะทกรกจัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 12,087