บุกอีรอกเขา
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 16,499
[16.4258401, 99.2157273, บุกอีรอกเขา]
บุกอีรอกเขา ชื่อวิทยาศาสตร์ Amorphophallus brevispathus Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สมุนไพรบุกอีรอกเขา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บุก, อีรอก, ดอกก้าน เป็นต้น
ลักษณะของบุกอีรอกเขา
ต้นบุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก
ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย
ดอกบุกอีรอกเขา ก้านดอกยาวออกจากเหง้า ดอกอยู่ตรงปลายก้าน ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายดอกหน้าวัว
ผลบุกอีรอกเขา ออกผลเป็นกลุ่ม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกตั้งขึ้น มีผลย่อยรูปรีจำนวนมาก
สรรพคุณของบุกอีรอกเขา
1. หัวมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหาร (หัว)
2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดน้ำหนัก (หัว)
3. ใช้เป็นยากัดเสมหะ (หัว)
4. หัวใช้เป็นยาแก้เถาดาล ที่จุดเป็นก้อนกลิ้งอยู่ในท้อง (หัว)
5. บางข้อมูลระบุว่า หัวใช้เป็นยาพอกกัดฝีหนอง (ข้อมูลจาก : champa.kku.ac.th)
วิธีใช้ : การใช้ตาม [1] ให้นำหัวบุกที่อยู่ใต้ดินมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบุกอีรอกเขา
1. สารสำคัญที่พบ ได้แก่ L-dopa, dopamine, konjac mannan, β-mannanase I, β-mannanase II
2. บุกอีรอกเขามีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้น cAMP และ cGMP ทำให้เกิดอาการแพ้ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ต้านเนื้องอก ยับยั้งเอนไซม์ trypsin ต้านพิษของสีแดง (amaranth) ลดการดูดซึมของวิตามินอี การรับประทาน glucomannan มาก ๆ จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังของทางเดินอาหาร
3. จากการศึกษาความเป็นพิษพบว่า การให้สารโพลีแซ็กคาไรด์กรอกปากหนูถีบจักรในขนาด 2.8 กรัมต่อกิโลกรัม ทั้งสองเพศ ไม่พบว่ามีหนูตาย
4. เมื่อปี ค.ศ.1983 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองผลของไฟเบอร์และสาร glucomannan ในบุกอีรอกเขา พบว่ามันสามารถช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลจากทางเดินอาหารในคนได้
ประโยชน์ของบุกอีรอกเขา
ใช้เป็นพืชอาหาร ด้านดอกอ่อนนำมาลอกเปลือกลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ปรุงอาหารประเภทนึ่งต่าง ๆ เช่น แกงเห็ด แกงหน่อไม้ เป็นต้น
คำสำคัญ : บุกอีรอกเขา
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บุกอีรอกเขา. สืบค้น 22 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1655&code_db=610010&code_type=01
Google search
มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,210
ดาวอินคาเป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างเลื้อยพันอื่นๆ ใบดาวอินคาเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10-12 เซนติเมตร กว้าง 8-10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-6 เซนติเมตร ดอกดาวอินคาดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 5,403
กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,420
ถั่วเขียว (Green Bean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมุม ส่วนภาคกลางเรียก ถั่วทอง หรือถั่วเขียว และเชียงใหม่เรียก ถั่วจิม เป็นต้น ซึ่งถั่วเขียวนี้จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว โดยเปลือกนอกจะมีสีเขียวต่างจากเนื้อเมล็ดข้างในที่มีสีเหลือง เป็นพืชที่ปลูกงอกง่ายแต่มีวงจรชีวิตสั้น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเอเชียกลางและอินเดีย โดยในประเทศไทยเราได้มีการศึกษาและพบถั่วเขียวในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน สมัยหินกลาง อายุประมาณ 10,000 ปีเลยทีเดียว จึงนับเป็นพืชที่มีมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 18,303
มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,634
ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 5,331
ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,572
เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,306
ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 9,533
กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,524