มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 5,381

[16.4258401, 99.2157273, มะเดื่อปล้อง]

มะเดื่อปล้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hispida L.f. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)

สมุนไพรมะเดื่อปล้อง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เดื่อสาย (เชียงใหม่), เดื่อปล้อง (นครศรีธรรมราช, สระบุรี, ภาคเหนือ), เดื่อป่อง (กรุงเทพฯ), หมากหนอด (ไทใหญ่), ตะเออน่า เอาแหน่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดิ๊โจ่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ฮะกอสะนียา (มลายู-นราธิวาส), ไฮ่มะเดื่อปล้อง (ปะหล่อง), กระซาล (ขมุ), ลำเดื่อ ลำเดื่อปล้อง (ลั้วะ), งงหยอเจีย (เมี่ยน) เป็นต้น

ลักษณะของมะเดื่อปล้อง

  • ต้นมะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่างๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อ ๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชุ่มชื้น ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าละเมาะ พื้นราบ ที่ว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
  • ใบมะเดื่อปล้อง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนมีติ่งแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักถี่ๆ ตลอดใบ โดยเฉพาะครึ่งปลายบน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 11-28 เซนติเมตร เนื้อใบคล้ายกระดาษ ผิวใบด้านบนมีขนสากคายมือ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ใบแก่มีขนหยาบ ๆ และบนเส้นใบด้านล่าง เส้นใบข้างโค้ง 5-9 คู่ เส้นใบที่ฐานยาวประมาณ 1/5 ของใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร มีต่อมเป็นปม หูใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย
  • ดอกมะเดื่อปล้อง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อ โดยจะออกตามลำต้นและกิ่ง และอาจพบออกตามโคนต้นหรือตามกิ่งที่ห้อยลงไม่มีใบ หรือพบได้บ้างที่เกิดตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่น เจริญเติบโตอยู่ในฐานรองดอกที่ห่อหุ้มไว้เพื่อที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผล มีลักษณะคล้ายผล ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ มีก้านช่อดอกยาว ดอกอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนดอกแก่เป็นสีเหลือง ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ภายในมีดอก 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด ดอกเป็นแบบแยกเพศ แต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้มีประมาณ 1-2 แถว กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ที่ปลายมีขน เกสรเพศผู้มี 1 อัน ส่วนดอกเพศเมียมีหรือไม่มีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอดหรือท่อสั้นๆ และดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน กลีบรวมปกคลุมรังไข่ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
  • ผลมะเดื่อปล้อง เป็นผลแบบมะเดื่อ รูปทรงกลมออกแป้น รูปลูกข่าง แคบที่ฐาน ก้นผลมีรอยบุ๋ม มีเส้นสัน 7-9 เส้น แผ่รอบๆ จากยอด มีขนอ่อนนุ่ม และมีเกล็ดปกคลุมแบบห่าง ๆ ออกผลติดเป็นกลุ่มแน่นประมาณ 10-15 ผล ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีจุดสีขาวตลอดทั้งผล ผลสดเป็นสีเขียว พอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ก้านผลยาวประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร มีกาบรูปสามเหลี่ยม 3 กาบ เป็นช่อยาวตามแนวของกิ่ง ห้อยลงจากลำต้นและกิ่งใหญ่ ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 

สรรพคุณของมะเดื่อปล้อง

  1. ผลมีรสขม เป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
  2. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง (เปลือกต้น)
  3. ชาวปะหล่องจะใช้กิ่งที่กลวง นำมาทำเป็นหลอดดูดน้ำ เชื่อว่าจะช่วยทำให้มีความจำดี (กิ่งกลวง)
  4. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่น (ผล) แก้มาลาเรีย (เปลือกต้น)
  5. ใบมะเดื่อปล้อง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการไข้ หนาวสั่น หรือรักษาอาการไข้หลังการคลอดบุตร หนาวสั่น (ใบ) ราก ลำต้น เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หวัด (ราก, ลำต้น, เหง้า)
  6. รากและเปลือกต้นมีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยากล่อมเสมหะ (รากและเปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผล)
  8. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล (ผล)
  9. ผลใช้ผสมกับเหง้าไพล และรากกล้วยตีบ อย่างละ 3 ชิ้น ใส่ถ้วยเติมน้ำ เอาเหล็ก (ขาง) เผาไฟให้แดงแล้วจุ่มแช่ลงไป ดื่มน้ำที่ได้เป็นยาแก้ซางปากเปื่อย (ผล)
  10. ผลแห้งใช้เป็นยารักษาแผลในปาก (ผลแห้ง)
  11. ผลแห้งมีสรรพคุณช่วยทำให้อาเจียน (ผลดิบกินแล้วทำให้วิงเวียน) ส่วนเปลือกต้น ผล และเมล็ดก็มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนได้เช่นกัน (ผลแห้ง, ผล, เมล็ด, เปลือกต้น)
  12. รากและเปลือกต้น ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสีย (รากและเปลือกต้น)
  13. คนเมืองจะใช้ไม้ร้อยผลร่วมกับไพล กล้วยดิบที่ฝานเป็นแว่น ๆ นำมาแช่ในน้ำ แล้วให้คนที่มีอาการท้องร่วงกินแก้อาการท้องร่วง (ผล)
  14. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด แก้อาการปวดกระเพาะ (ผล)
  15. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดท้องในเด็ก (เปลือกต้น)
  16. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (เปลือกต้น)
  17. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะเหลืองจัดหรือปัสสาวะเป็นเลือด (ใบ)
  18. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ผล)
  19. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการม้ามโต (ใบ)
  20. ช่วยรักษาโรคตัวเหลือง (ผล)
  21. ผลมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ใช้เป็นยาพอก ใช้ล้างแผล สมานแผล แก้บวมอักเสบ (ผล)
  22. ใบใช้เป็นยาใส่แผลฝี แผลหนองอักเสบ แผลในจมูก (ใบ)
  23. ช่วยแก้โรคผิวหนังเรื้อรัง (ผล)
  24. รากและเปลือกต้น นำมาตำใช้เป็นยาทาแก้ฝี แก้เม็ดผื่นคันตามผิวหนัง หรือใช้กินเป็นยาแก้ประดง (รากและเปลือกต้น) หรือจะใช้แก่นนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ฝีได้ดีมาก (แก่น)
  25. ใช้เป็นยาพอกฝีมะม่วง (เปลือกต้น)
  26. ช่วยรักษาสิวฝ้า (เปลือกต้น)
  27. เปลือกต้นนำมาต้มกับกล้วยน้ำว้าเอาผ้าชุบน้ำพันรอบตัว แก้อาการบวมทั้งตัว (เปลือกต้น)
  28. รากและเปลือกต้นใช้กินเป็นยาแก้พิษในกระดูก (รากและเปลือกต้น)
  29. ลำต้นเอามาตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคกระดูก (ลำต้น)
  30. ช่วยรักษากระดูกแตกหัก (เปลือกต้น)
  31. ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ จะใช้ราก ลำต้น เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยากระตุ้นการหลั่งของน้ำนม (ราก, ลำต้น, เหง้า) ส่วนผลก็มีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมเช่นกัน (ผล)

ประโยชน์ของมะเดื่อปล้อง

  1. ผลใช้รับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากมักมีแมลงมาอาศัยอยู่ข้างในผล และมีบ้างที่ใช้ผลสุกนำมาทำแยม
  2. ใบอ่อนใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส่วนช่อดอกและผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือต้มจิ้มกับน้ำพริก นำมาปรุงอาหารจำพวกแกงส้ม ผลดิบใช้รับประทานกับแกงบอนหรือหลามบอน หรือนำไปประกอบอาหารโดยการหลามกับกระดูกหมู
  3. ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมาต้มเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงหมู
  4. เปลือกต้นใช้ทำเชือกหยาบๆ
  5. เนื้อไม้ใช้สำหรับทำฟืน (ลั้วะ)

ข้อควรระวัง : ยางทั้งจากใบ เปลือก และผลมะเดื่อปล้อง ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเป็นแผลได้

คำสำคัญ : มะเดื่อปล้อง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเดื่อปล้อง. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1717&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1717&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ส้มเช้า

ส้มเช้า

ส้มเช้าเป็นพืชที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูงได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ชนิดนี้ต้นหรือปลายต้นมักมีรูปร่างแปลก หงิกคล้ายดอกหงอนไก่ เป็นชนิดที่มีใบน้อย นิยมนำมาปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับ ส่วนอีกชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ออกใบมากกว่าชนิดแรก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 6,066

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 14,298

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,115

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,792

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,665

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,642

บุก

บุก

บุก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,714

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,326

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,351

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,376