พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 25,197

[16.4258401, 99.2157273, พญาไร้ใบ]

พญาไร้ใบ ชื่อสามัญ Milk bush, Indian tree spurge

พญาไร้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia tirucalli L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

สมุนไพรพญาไร้ใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่), เคียะเทียน (ภาคเหนือ) เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นพญาไร้ใบที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกับพญาไร้ใบ (ชนิดที่ไม่มีใบเลยจริง ๆ) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เถาหูด้าน เอื้องเถา เถาวัลย์ยอดด้วน เป็นต้น โดยคุณสามารถอ่านบทความของพรรณไม้ชนิดนี้ได้ที่บทความเรื่อง "เถาวัลย์ด้วน" และยังเป็นคนละชนิดกับกล้วยไม้ที่มีชื่อว่า "เอื้องพญาไร้ใบ" (ชื่อวิทยาศาสตร์ Chiloschista lunifera (Rchb.f.) J.J.Sm.) อีกด้วย

ลักษณะของพญาไร้ใบ

  • ต้นพญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 
  • ใบพญาไร้ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีขนาดมาก ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
  • ดอกพญาไร้ใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ
  • ผลพญาไร้ใบ ผลเป็นผลแห้งจะแตกและอ้าออก 

สรรพคุณของพญาไร้ใบ

  1. รากมีรสเฝื่อน ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ราก)
  2. รากนำมาต้มกับน้ำมะพร้าวใช้ทาแก้อาการปวดท้อง (ราก)
  3. ต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้กระเพาะอักเสบ (ต้น)
  4. รากใช้สกัดเป็นเป็นยาระบายได้ (ราก)
  5. ใบและรากมีรสเฝื่อน ใช้ตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร (ใบและราก) และใช้ต้นนำมาตำพอกริดสีดวง (ต้น)
  6. น้ำยางจากต้นใช้รักษาโรคผิวหนัง (น้ำยางจากต้น) ส่วนเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาสำหรับรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน กรณีที่มือและเข่าอ่อนเปลี้ยหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)
  7. ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้รังแค (ต้น)
  8. ต้นใช้เป็นยาพอกแผล (ต้น)
  9. ตำรายาพื้นบ้านจะใช้น้ำยางจากต้นมาแต้มกัดหูด (ใช้น้ำยางจากกิ่งที่หักมาใหม่ ๆ มาหยดลงบริเวณที่เป็นหูด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น) (น้ำยางจากต้น)
  10. ต้นมีรสเฝื่อน ใช้ต้มแช่รักษาอาการบาดเจ็บ (ต้น)
  11. ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้ปวดบวม (ต้น)
  12. ต้นใช้ตำทาแก้อาการปวดกระดูก กระดูกเดาะ (ต้น)
  13. ใช้น้ำยางจากต้นนำมาถูผิวหนังบริเวณที่กระดูกแตกหัก เชื่อว่าจะช่วยเชื่อมกระดูกได้ (น้ำยางจากต้น)

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรพญาไร้ใบ

  • ยางจากต้นพญาไร้ใบมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางสีขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง ทำให้เกิดอาการคัน และเป็นอันตรายเมื่อเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
  • ในน้ำยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรงและยังเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระมัดระวังในการนำมาใช้

การรักษาพิษของพญาไร้ใบ

  • พิษระคายเคืองต่อผิวหนัง น้ำยางสีขาวจากต้นมีสารพิษชื่อว่า Phorbol derivative หากสัมผัสจะมีอาการปวด ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง บวมพองเป็นตุ่มน้ำ ถ้าเข้าตาจะทำให้เยื่อบุตาอักเสบและตาบอดชั่วคราว[5]
    • วิธีการรักษา
  • ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์
  • ทาด้วยครีมสเตียรอยด์
  • ทานยาแก้แพ้ (เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlopheniramine) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร)
  • ประคบด้วยน้ำเย็นจัดบริเวณที่มีอาการประมาณ 30 นาที
  • ถ้ายางเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
  • พิษระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียน และถ่ายท้องอย่างรุนแรง ม่านตาหด หากได้รับมากอาจทำให้สั่นและเสียชีวิตได้
    • วิธีการรักษา
  • ให้รีบทำให้อาเจียนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง
  • ดื่มน้ำนมหรือไข่ขาว เพื่อช่วยเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ดื่มน้ำเกลือผงละลายน้ำ หรือให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือด เพื่อช่วยชดเชยน้ำที่เสียไป
  • ต้องรับประทานอาหารอ่อน ๆ จนกว่าอาการจะทุเลา

ประโยชน์ของพญาไร้ใบ

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสวน
  • น้ำยางสีขาวมีพิษ จึงใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ยอ่อน มอดแป้ง แมลงวันทอง หนอนกระทู้ผัก และช่วยป้องกันแมลงในโรงเก็บ และยังสามารถช่วยยับยั้งการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้อีกด้วย
  • นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพรป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวได้อีกด้วย โดยให้เตรียมพญาไร้ใบ 3 กิโลกรัม, น้ำ 10 ลิตร, กากน้ำตาล 0.5 ลิตร นำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกัน ปิดถังหมักทิ้งไว้ในร่ม 1 เดือน ส่วนวิธีการใช้ให้ปล่อยไปตามน้ำหรือเทราดตามข้างนาจำนวน 1 ลิตร ต่อไร่ (หรืออาจมากกว่านั้น) ก็จะช่วยกำจัดหอยเชอรี่ได้โดยไม่มีผลกระทบหรือเป็นอันตรายใดๆ ต่อต้นข้าวเลย

คำสำคัญ : พญาไร้ใบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พญาไร้ใบ. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1738&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1738&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,425

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,753

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,547

ผักชีลาว

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,448

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,792

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,655

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,558

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,376

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,328

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,213