แสลงใจ
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 4,048
[16.4258401, 99.2157273, แสลงใจ]
แสลงใจ ชื่อสามัญ Nux-vomica Tree, Snake Wood
แสลงใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-vomica L.จัดอยู่ในวงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE)
สมุนไพรแสลงใจ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แสลงทม แสลงเบื่อ (นครราชสีมา), แสงโทน แสลงโทน (โคราช), แสงเบื่อ (อุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง (ภาคกลาง), ดีหมี, ว่านไฟต้น เป็นต้น
หมายเหตุ : ต้นแสลงใจ (ตูมกาแดง) ที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นคนละชนิดกับต้นแสลงใจที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-blanda A.W. Hill หรือที่ภาคกลางเรียกว่า "ตูมกาขาว"
ลักษณะของต้นแสลงใจ
ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
ใบแสลงใจ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ
ดอกแสลงใจ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
ผลแสลงใจ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด
เมล็ดแสลงใจ เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ เมล็ดแสงใจในภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Button Seed หรือ Dog Button ส่วนในตำรับยาฝรั่งจะเรียกว่า นุกซ์ โวมิกา (Nux Vomica) ซึ่งหมายถึงเมล็ดแข็งที่ทำให้อาเจียน ส่วนจีนจะเรียกเมล็ดแสงใจว่า "โฮ่งบ๋วยจี้" และ "หม่าเฉียนจื่อ" (จีนกลาง) ส่วนไทยเรียกว่า "เมล็ดแสลงใจ", "เม็ดกาจี๊", "ลูกกะจี้" แต่ในตำรับยาไทยนั้นจะเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า "โกฐกะกลิ้ง" หรือ "โกกกักกลิ้ง" ซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดในด้านการเบื่อสัตว์ สาร Strychnine ที่อยู่ในเมล็ดอาจจะอยู่ในรูปของผงแป้ง (ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีรสขมมาก) หรือในรูปของสารละลายแอลกอฮอล์ (trychnine alkaloid) ส่วนเมล็ดที่ทำมาเป็นยาน้ำสีเหลืองจะเรียกว่า "ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา" (Tincture Nux vomica)
สรรพคุณของแสลงใจ
1. เมล็ดแก่แห้ง (โกฐกะกลิ้ง) ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ด้วยการนำเมล็ดมาดองกับเหล้ากิน แต่ต้องใช้ในปริมาณที่น้อย เพราะใช้มากจะเป็นพิษ (เมล็ด)
2. ช่วยบำรุงประสาท (เมล็ด)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจให้เต้นแรงขึ้น (เมล็ด)
4. เมล็ดมีรสเมาเบื่อขม เป็นยาเย็น มีพิษมาก ก่อนนำมาใช้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษก่อน โดยมีสรรพคุณเป็นยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ (เมล็ด)
5. เมล็ดใช้ในปริมาณต่ำจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด (เมล็ด)
6. เมล็ดเป็นยาบำรุงประสาทอย่างแรง (เมล็ด)
7. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย (เมล็ด)
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)
9. ช่วยแก้โรคโปลิโอในเด็ก (เมล็ด)
10. รากมีรสเมาเบื่อขม ใช้กินเป็นยาแก้ท้องขึ้น (ราก)
11. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (เมล็ด)
12. ช่วยแก้โรคไตพิการ (ใบ)
13. รากใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้อาการอักเสบจากงูกัด (ราก)
14. ใบมีรสเมาเบื่อขม ใช้ตำกับเหล้าพอกปิดแผลเรื้อรังเน่าเปื่อย (ใบ)
15. ช่วยแก้ฝีต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก (เมล็ด)
16. ใช้แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง (เมล็ด)
17. ใบใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ (ใบ) ส่วนเมล็ดใช้ภายนอกก็เป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียวได้เช่นกัน (เมล็ด)
18. แก่นใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย (แก่น)
19. เมล็ดมีสรรพคุณแก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม (เมล็ด)
20. ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ซึ่งทำมาจากเมล็ดของต้นแสลงใจจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงประสาท ช่วยทำให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้ตัวเย็น แก้โลหิตพิการ แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ แก้คลื่นเหียน เป็นยาระบายอย่างอ่อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก ใช้แก้ประสาทพิการ เส้นตาย เป็นเหน็บชาต่าง ๆ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง (ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา)
หมายเหตุ : เมล็ดมีพิษมาก ก่อนนำมาใช้เป็นยาต้องนำมาผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษออกก่อน ด้วยการนำเมล็ดแสลงใจมาคั่วกับทราย จนเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มพองตัวออกและแตกอ้า แล้วจึงนำเมล็ดมาปอกเปลือกเพื่อกำจัดขน และนำไปแช่ในน้ำปูนขาว 2 คืน ครบแล้วจึงนำออกมาตากแดดให้แห้ง แล้วหั่นเป็นแผ่น ๆ หรือบดให้เป็นผง จึงจะสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ (จะใช้วิธีต้มหรือย่างเพื่อลดปริมาณของสารพิษก็ได้) โดยเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการกำจักพิษแล้ว ขนาดที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-4 ขวบ ให้ใช้ครั้งละ 0.2 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 0.3-0.6 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง[4] ส่วนทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ให้รับประทานได้ 5-15 หยด
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรแสลงใจ
1. ในเมล็ดมีสาร Brucine หากนำมาใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ โดยจะออกมีฤทธิ์กระตุ้นเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เบื่อเมา ทำให้มีอาการกลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง และชักกระตุก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. การรับประทานแต่น้อย แต่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเป็นอันตรายต่อตับ
3. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยานี้ (ในบางประเทศไม่ยอมรับสมุนไพรชนิดนี้ว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาแสลงใจ
1. เมล็ดแสลงใจมีสารอัลคาลอยด์อยู่ประมาณ 1.5-5% ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น Stryhcnine, Brucine, Vomicine, Pseudostrychnine, N-methylses-pseudobrucine และยังพบ Chlorogenic acid, น้ำมันและโปรตีน 11% เป็นต้น[4] ซึ่งส่วนมากจะเป็นสารจำพวก Strychnine อยู่ประมาณ 1/3-1/2 ในสารอัลคาลอยด์ทั้งหมด สารนี้จะอยู่ตรงกึ่งกลางของเมล็ด มีความเป็นพิษและมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทไขสันหลัง นิยมใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ จึงห้ามนำมาใช้เกิดขนาดเพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีสาร Brucine ที่อยู่ด้านนอกติดกับเปลือกเมล็ด มีรสขมจัด ละลายได้ดีทั้งในน้ำและในแอลกอฮอล์ แต่จะมีฤทธิ์อ่อนกว่า Strychnine ปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว
2. สารในกลุ่มอัลคาลอยด์ จำนวน 3 ชนิด (strychnine, pseudostrychnine, icajine) ใน 6 ชนิดจากเมล็ดของแสลงใจ เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ พบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยสาร strychnine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human leukemia cell line HL-60, human gastric carcinoma cell line BGC ส่วนสาร pseudostrychnine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human gastric carcinoma cell line BGC, human hepatic carcinoma cell line BEL-7402 และสาร icajine ให้ผลกับ human carcinoma cell line KB, human gastric carcinoma cell line BGC
3. ผงอัลคาลอยด์ Stryhcnine 1 เกรน สามารถเบื่อสุนัขได้ 1 ตัว โดยก่อนตายจะมีอาการชักกระตุกจนตายภายใน 1-3 ชั่วโมง (การฆ่าสัตว์ถือเป็นบาป ไม่ควรทำครับ ขอให้รู้ว่ามันอันตรายมากแค่ไหนก็พอ)
4. จากรายงานทางคลินิก โดยทดลองใช้รักษาอาการประสาทกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมบนใบหน้าแข็งชา ด้วยการนำเมล็ดแสลงใจมาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้ววางบริเวณใบหน้าที่มีอาการชาหรือกระตุก โดยเปลี่ยนยาทุก ๆ 7-10 วัน จนกว่าจะหาย จากการรักษาพบว่าสามารถรักษาคนไข้ให้หายดีได้ประมาณ 80%[4]
5. ความเป็นพิษของเมล็ดแสลงใจ พบว่าหากรับประทานมากกว่า 5 มิลลิกรัม ของ Strychnos หรือประมาณ 30-50 มิลลิกรัมของผงยา จะทำให้มีอาการกระวนกระหาย หายใจลำบาก อาจเกิดอาการชัก และอาจทำให้ตายได้
6. สาร Strychnine สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในระบบทางเดินอาหาร เยื่อบุจมูก หรือบริเวณที่ฉีดเข้าไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ และจากถูก metabolite ที่ตับเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 10-20% จะถูกขับออกในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงทางไต โดยสาร Strychnine มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ประมาณ 10-15 ชั่วโมง อาการของผู้ป่วยที่ได้รับ Strychnine มักจะเกิดขึ้นใน 10-20 นาทีหลังรับประทาน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่การกระตุกเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วไปจนถึงมีอาการชักได้ ในบางรายอาจมีอาการชักจนตัวแอ่น โดยอาการชักมะจะเกิดในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติหรือรู้สึกตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดในขณะที่กระตุกได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของการเกร็งตัวชนิดนี้ก็คือ ทำให้การหายใจล้มเหลวและอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายตัว จนเกิดมีไตวายตามมาภายหลังได้ ในทางเภสัชกรรมไทยจึงจัดให้เมล็ดแสลงใจเป็นพืชอันตราย แม้ในบางประเทศจะเคยใช้สาร Strychnine เพื่อรักษาโรคบางอย่าง แต่ภายหลังก็ได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีอันตรายและมีความเป็นพิษสูง
ประโยชน์ของแสลงใจ
1. เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลาก็ได้ บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร (curare) ของชนเผ่าอินเดีย
แดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์
2. เนื้อไม้ของต้นแสลงใจเป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้ ฯลฯ
คำสำคัญ : แสลงใจ
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แสลงใจ. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1611&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,380
ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,868
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 9,438
ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,219
สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน
เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 10,716
เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,749
ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,362
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,705
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีลำต้นแข็งแรง บางชนิดมีเรือนยอดพุ่มทรงหนาทึบและบางชนิดเป็นทรงพุ่มโปร่งแต่บางชนิดตามลำต้น จะมีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งก้าน ใบต้นไทร มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของมันแต่โดยมากสีของใบจะมีสีเขียวด่างขาว ด่างดำปนเทา หรือสีครีมก็มี ถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย อินเดีย ไทย จีน เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,206
ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 1,788