กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 10,473

[16.4258401, 99.2157273, กระพี้จั่น]

ชื่ออื่น : กระพี้จั่น, จั่น, พี้จั่น, ปี้จั่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE–PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8 – 20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป
        ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7 – 21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 3 – 7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง
        ดอกกระพี้จั่นรูปออกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกตามกิ่งและง่ามใบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบ ช่อยาว 7-22 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีม่วงดำ กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-1 ซม. ดอกคล้ายดอกถั่วสีม่วงแกมขาว
        ผลกระพี้จั่นเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 9 – 12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ 1 – 4 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, เนื้อไม้, เปลือกต้น, แก่น
สรรพคุณ กระพี้จั่น :
       เนื้อไม้ ช่วยบำรุงเลือด
       ลำต้น ยาพื้นบ้านอีสานใช้ต้มดื่มบำรุงเลือด
       เปลือกต้น ต้มน้ำใช้ชำระล้างบาดแผลเรื้อรัง
       แก่น เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร

คำสำคัญ : กระพี้จั่น

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระพี้จั่น. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1561&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1561&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,503

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 26,704

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,154

กระทือ

กระทือ

ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,443

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,885

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,748

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,919

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,580

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,473

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  สูงประมาณ 12 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรือนต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขนาน ปลายและโคนกลมมีขนอ่อนนิ่มทั้งหลังและท้องใบ ดอกช่อออกตามกิ่ง สีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว ออกดอกหลังผลัดใบ ผลฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนนิ่มปกคลุมยาว 30-40 ซม. มีผนังกั้นระหว่างเมล็ดยุ่น ๆ สีขาวแกมเขียว เมื่อแห้งจะแยกกันเป็นชั้น ๆ ปอกเปลือกออกจะเห็นเป็นรูปเหรียญกลม ๆ มีเมล็ดอยู่ภายใน เขย่าได้ ตลอดฝักเมล็ดกลมลีบแบน  นิเวศวิทยาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,953