กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 4,156

[16.4258401, 99.2157273, กำลังพญาเสือโคร่ง]

         กำลังพญาเสือโคร่ง (Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เชียงใหม่เรียกกำลังเสือโคร่ง ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกเส่กวอเว ชาวลั้วะเรียกลำแคร่ ลำคิแย หรือลำแค และคนเมืองเรียกพญาเสือโคร่ง หรือนางพญาเสือโคร่ง เป็นต้น ซึ่งต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เพาะปลูกกันมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่านอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของกำลังพญาเสือโคร่ง
        สำหรับต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

ประโยชน์และสรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง
        เนื้อไม้, เปลือก – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้อากาปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมทั้งช่วยบำรุงกำลัง ช่วยในการเจริญอาหาร บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง และช่วยขับลมในลำไส้ ให้รสมันฝาดติดร้อน
        นอกจากนี้ ต้นกำลังพญาเสือโคร่งยังมีประโยชน์อีกสารพัด อาทิ สามารถนำไปใช้ในการทำเครื่องเรือน การก่อสร้างต่างๆ หรือทำเป็นพื้นกระดาน ด้ามเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ผสมกับแป้งเพื่อทำเค้กหรือขนมปัง ตลอดจนนำมาทำเป็นกระดาษ และใช้ทำการบูรไว้สำหรับสูดดมอีกด้วย

คำสำคัญ : กำลังพญาเสือโคร่ง

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กำลังพญาเสือโคร่ง/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำลังพญาเสือโคร่ง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1466&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1466&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,394

โหราบอน

โหราบอน

โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,412

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,693

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,617

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง  ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก  ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,221

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,839

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,682

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,164

มะนาวผี

มะนาวผี

มะนาวผี มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้นๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,370

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,791