ชนเผ่าลีซู (LISU)
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 4,359
[16.2844429, 98.9325649, ชนเผ่าลีซู (LISU)]
ตำนานของลีซู ลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ๆ จึงตั้งหน้าตั้งตาผลิต ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวซึ่งจับคู่กันเป็นต้นเผ่า ความหมายคำว่าลีซู ลีซอ ได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็นจากการใช้สีตัดกัน อย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ของตนเอง หากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ เป็นอย่างดี ความเป็นมา ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า ๓๐% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๔ กลุ่มแรกมี ๔ ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก ๑๕ ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลง เป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ ๕-๖ ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ลีซูแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมด เป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่ ๙ จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี ๖ กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก ๓ กลุ่มย่อย มีอยู่ ๙ สายตระกูลจากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) ประชากร ในกลางปี พ.ศ. ๒๕๒๖ มีลีซูประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน กระจายกันตั้งหมู่บ้านราว ๑๑๐ หมู่ อยู่ในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ สำรวจประชากรลีซูได้ประมาณ ๗,๕๐๐ คน คิดเป็นอัตราเพิ่ม ๓.๖% ต่อปี ตลอดระยะ ๒๕ ปี ที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มโดยธรรมชาติ เพราะมีการอพยพเข้ามาขึ้นเรื่อยๆ ในปี ๒๕๒๖ นี้มีประชากรลีซูอยู่ในพม่า ๒๕๐,๐๐๐ และในจีนราว ๕๐๐,๐๐๐ คน มีหลายร้อยครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในทางชายแดนของตะวันออกฉียงเหนือ แต่ไม่มีอยู่ในลาว และเวียดนามเลย ลีซูในไทยนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ราว ๔๗% เชียงราย ๒๓ % แม่ฮ่องสอน ๑๙% อีก ๑๑% กระจัดกระจายกันอยู่ใน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ลีซูในเมืองไทยปัจจุบันแตกต่างไปจากชนเผ่าในตอนเหนือของพม่ามากมาย อาจเป็นเพราะได้แยกแตกตัวมาจากจีนส่วนใหญ่หลายชั่วคนแล้ว แถมยังมีการสมรสกับจีนฮ่อ จนผสมผสานกันถึงขั้นเรียกตนเองว่า ลีซูจีน ไปเลย
ประชากรลีซูจากการสำรวจในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ของสถาบันวิจัยชาวเขามี ๓๐,๙๔๐ คน ๑๕๑ หมู่บ้าน ๕,๑๑๔ ครัวเรือน คิดเป็น ๔.๑๑% ของประชากรชาวเชาทั้งหมด อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ๒๓% จังหวัดเชียงราย ๑๙% จังหจัดแม่ฮ่องสอน ๑๑% และกระจายทั่วไปในจังหจัด พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย
องค์กรชาวบ้านของลีซูในอดีต และในปัจจุบัน
๑. ฆว่าทูว์ (ผู้นำชุมชน) ตำแหน่งนี้จะถูกคัดเลือกและแต่งตั้งโดยชาวบ้าน
๒. มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งนี้จะถูกกำหนดหรือแต่งตั้งโดย อาปาโหม่ ต้องผ่านตามพิธีเสี่ยงทายก่อนและแต่ละชุมชนมี มือหมือ ได้เพียงคนเดียว ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม และเป็นตัวกลางระหว่างเทพพิทักษ์ในหมู่บ้าน และทำหน้าที่ประกาศในวันสำคัญ ๆ
๓. หนี่ผะ (หมอผี) เป็นบุคคลที่คัดเลือก และกำหนดโดยวิญญาณบรรพบุรุษของตระกูล ทำหน้าทีเชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของผี
๔. โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) บุคคลที่มีอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของลูกบ้าน
ในปัจจุบัน ๑. ฆว่าทูว์ (ผุ้นำชุมชน) เป็นผู้ใหญ่บ้านทางการ ๒. มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งการถูกแต่งตั้งยังเหมือนเดิม ๓. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๑-๒ คน โดย ฆว่าทูว์ เป็นผู้แต่งตั้ง ๔. อบต ทางการชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่บริหารหมู่บ้าน และดึงงบประมาณ ๕. คณะกรรมการในหมู่บ้าน ๖. ที่ปรึกษา โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) ๗. หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่พิธีกรรมต่างๆ สำหรับองค์กรชาวบ้านลีซู (องค์กรชนเผ่า) ในอดีตนั้นไม่ค่อยชัด แต่จะเด่นในการรวมกลุ่มเครือญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ระหว่างชุมชนลีซู มีบทบาทมากในสังคมลีซูในอดีต ในปัจจุบันกลุ่มเครือญาติยังคงมีการรวมกลุ่มที่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเครือญาติ
คำสำคัญ : ชนเผ่าลีซู (LISU)
ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชนเผ่าลีซู (LISU). สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1441&code_db=610004&code_type=05
Google search
ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 4,359
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 578
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 813
นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 3,373
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,249
ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 18,986
ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 711
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,288
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,035
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,257