การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 800
[16.2844429, 9325649, การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา]
.jpg)
ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม
วันที่ 1 ผู้หญิงก็จะออกไปตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาประกอบพิธีกรรมในบ้านของตน น้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อ่าข่าเรียกว่า “อี้จุ อีซ้อ” หมายถึงน้ำบริสุทธิ์ และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก ข้าวปุ๊กหรือห่อถ่องคือข้าวที่ได้จากการตำอย่างละเอียด โดยก่อน ที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จ หรือได้ที่แล้วก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็นึ่งต่อระหว่างที่รอข้าวสุก ก็จะมีการตำงาดำผสมเกลือไปด้วยเพื่อไม่ให้ ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้น ข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำพิธีเช่นกัน วันนี้ทั้งวันจะเป็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งนั้น ซึ่งสถานที่ในการทำพิธีกรรมก็จะเป็นทางฝั่งผู้หญิง ที่หิ้งผีบรรพบุรุษ “เปาะเลาะเปาะทุ”
วันที่ 2 วันนี้เป็นวันที่เด็กๆ จะทำเครื่องมือที่ใช้ในการไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านหรือชุมชน หลังจากที่ทำเครื่องมือเสร็จ เด็กๆ ก็จะพากันไปตะโกนไล่ตามบ้านต่างๆ ในวันนี้เด็กๆ ก็จะไล่กันจนถึงเย็น ส่วนทางผู้นำศาสนาก็จะมีการทำพิธี “โจ่ว ยอง ล้อ” คือเป็นการไหว้ครูในตำแหน่ง และมีการเลี้ยงอาหารแขก ซึ่งตำแหน่ง “โจ่วมา” จะประกอบพิธีไหว้ครูในพิธีนี้เท่านั้น ในพิธีก็จะมีการฆ่าหมู และผู้เฒ่าผู้แก่อวยพรให้กัน และกัน เมื่อถึงตอนเย็น เด็ก และผู้ใหญ่ก็จะมารวมตัวกันที่บ้านของผู้นำศาสนา “โจ่วมา” และนำดาบที่แกะสลักทั้งหลาย แล้วเดินออกไปปักไว้ทางเข้าประตูหมู่บ้าน โดยก่อนทีจะมีการปัก ก็จะมีการยิงปืนครั้งใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “ค้องแย๊จู่เออ” คือการรวมตัวยิงปืน เป็นการส่งท้าย
เมื่อยิงปืนสร็จก็จะนำดาบใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “เตาะมา” ที่เป็นคู่ใหญ่ทำเสาพาด สิ่งนี้จะเป็นตัวที่ป้องกัน ไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในหมู่บ้านอีก ส่วนดาบเล็กๆ ก็ปักไว้ข้างๆ เสาประตูหมู่บ้าน เสร็จจากนี้ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน พอตกเย็น ก็จะมีการทำพิธี “ อ่าเผ่ว ล้อก่องอุเออ” คือการทำความสะอาด เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ และเก็บเข้าตู้บรรจุ เป็นอันว่าเสร็จพิธีไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน “ค้องแย๊อ่าเผ่ว”
คำสำคัญ : เทศกาลค๊องแย๊อ่าเผ่ว
ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/1461
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=170&code_db=610004&code_type=05
Google search
ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,500
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 619
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,219
ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 611
จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา”
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,170
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 800
ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,172
ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 4,278
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,012
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,236