วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,812

[16.4969438, 99.440908, วัดตะแบกคู่]

            ภายในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชรมีวัดที่เรียกกันว่าอยู่ในเขต อรัญวาสี อยู่ประมาณ 40 วัด จากการที่มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชรมาช้านานนี้ทำให้องค์การยูเนสโกยกย่องอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรให้เป็นมรดกโลก สร้างความภูมิใจให้กับผู้คนในบ้านเมือง จนเติมคำขวัญไปอีกวรรคหนึ่ง จากคำขวัญที่ว่า  กรุพระเครื่อง  เมืองคนแกร่ง  ศิลาแลงใหญ่  กล้วยไข่หวานน้ำมันลานกระบือ คำที่เติมต่อท้ายคือ เลื่องลือเมืองมรดกโลก
            วัดตะแบกคู่ เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว200 ปี  ต้นคู่กันหาไม่พบ คงตายไปแล้ว วัดตะแบกคู่ เป็นวัดที่ยังไม่ได้ขุดแต่ง ซาก ปรักหักพัง ยังอยู่ในสภาพเดิมๆ...พระวิหารมีขนาดสูงใหญ่ กว้างราว 15 เมตร ยาวกว่า 20เมตร ตลอดระยะบนวิหารถูกนักขุดพระ ขุดแทบพลิกแผ่นดิน มีหลุมทุกขนาด ขุดติดกันต่อกันมีเสาพระวิหาร ที่ยืนอยู่เพียงต้นเดียว นอกนั้นล้มกองลงกับพื้น พอมองเห็น ซาก อย่างน่าสลดหดหู่ ว่าคนที่ทำลายบ้านเมืองของเรานั้นมิใช่ข้าศึกศัตรูที่ไหนเลย เป็นพี่น้องของเราที่มักอ้างว่านับถือพระพุทธศาสนา แต่กับทำลายวัดและพระพุทธรูป อย่างไร้ คุณธรรมที่น่าสังเกต คือฐานพระประธาน ถูกขุดลงไปลึก จนเห็นกรุพระ เป็นห้องขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2เมตร ส่วนร่องรอยพระประธานไม่มีให้เห็น คงจะขุดทำลายไปสิ้น  ด้านหลังพระวิหาร มีเสารองรับหลังคาอีกหลายต้นที่พอสังเกตได้ น่าจะเป็น ห้องที่ยื่นออกไปอีกห้องแต่ก็ยับเยินเช่นกันด้านข้างพระวิหาร มีศาลา กุฏี  บ่อน้ำ อีกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าวัดตะแบกคู่เป็นวัดขนาดใหญ่  เมื่อสังเกตและศึกษาอย่างชัดเจนแล้วจะเห็นว่าวัดเพการาม กับวัดตะแบกคู่ น่าจะเป็นวัดเดียวกัน โดยมีเจดีย์ประธาน อุโบสถ และพระวิหาร อยู่เรียงกันไป แต่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสองวัด  ด้านหน้าเรียกว่าวัดเพการาม ด้านหลัง เรียกว่าวัดตะแบกคู่ ควรได้ศึกษากันให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักฐานที่ถูกต้องต่อไป
            วัดตะแบกคู่ ไม่มีสัณฐานของเจดีย์ประธานพบแต่ เนินดินขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังวิหารและด้านข้างวิหาร เมื่อดูอย่างละเอียดแล้วพบว่าเป็นศาลามิใช่เจดีย์ประธาน.การศึกษาสถาปัตยกรรมของเมืองมรดกโลก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ   กำแพงเพชร  สุโขทัย ศรีสัชนาลัย อยุธยา ล้วนมีความยิ่งใหญ่ที่เป็นตัวของตัวเอง  ไม่เหมือนกัน ไม่ซ้ำกัน แต่ละแห่งล้วนมีเสน่ห์ให้น่าศึกษายิ่ง  การศึกษาภูมิปัญญาของ  บรรพบุรุษ  ทำให้เราภูมิใจ ในความเป็นกำแพงเพชร อย่างที่สุด 

            ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=190&code_db=DB0011&code_type=F001

 

คำสำคัญ : วัดตะแบกคู่

ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NJ.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดตะแบกคู่. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=295&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=295&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 5,443

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,462

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,964

วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,943

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆเบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ ๖) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,442

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,100

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,705

วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด

เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 835

วัดมหาโพธิมงคล

วัดมหาโพธิมงคล

วัดมหาโพธิมงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,691

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,127