นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 1,703

[16.4258401, 99.2157273, นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง]

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

ผู้เล่า  นางบาง เอี่ยมท่า

คำสำคัญ : นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : นิชรา พรมประไพ. (2562). หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเสน่ห์นิทานพื้นบ้าน เล่ม 2. กำแพงเพชร: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง. สืบค้น 26 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1386&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1386&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,068

ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 15,868

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,759

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,725

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,958

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,843

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

“ศรีวันนี้ก็วันลาภวันดี ศรีวันพระยาวัน ฉันจะเรียกมิ่งขวัญ ขวัญมาเกิดมาแม่มา ขวัญอย่าไปเป็นตะเข็บอยู่ใต้ขอน ขวัญอย่าไปเป็นแมงชอนอยู่ใต้ไม้ ขวัญอย่าไปอยู่ในน้ำเป็นเพื่อนปลา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ในนาเป็นเพื่อนข้าว ขวัญแม่อย่าไปเอาพุ่มไม้ต่างเรือน ขวัญแม่อย่าไปเอาแสงเดือนต่างไต้  ขวัญแม่อย่าไปเอาเรไรต่างมโหรี มาเถิดมาแม่มาขวัญเอยขวัญแม่อย่าไปเที่ยวชมเขาลำเนาไพร ให้แม่กลับมา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ที่เชิงตะกอน ขวัญแม่อย่าไปนอนอยู่ป่าช้า มาเถิดแม่มา

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 5,809

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,035

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกระต่ายตัวหนึ่งหากินอยู่ริมบึง และมีจระเข้อยู่ในบึงอีก 1 ตัว คอยจ้องกินเหยื่อ จระเข้มองเห็นเจ้ากระต่ายมาใกล้ๆ จึงรีบคลานขึ้นจากน้ำ อ้าปากงับกระต่ายอย่างรวดเร็ว กระต่ายตกใจมาก คิดเพียงว่าต้องหาทางออกจากปากจระเข้ให้ได้ จึงออกอุบายถามจระเข้ว่า “ไหนๆ ข้าจะตายแล้ว บอกหน่อยทีเถอะว่าหวยงวดนี้ออกอะไร” จระเข้ไม่ทันคิดจึงอ้าปากบอกว่า “55” กระต่ายได้โอกาสกระโจนออกจากปากเอาขาหลังถีบลิ้นจระเข้ขาด ส่วนจระเข้รีบงับไว้ได้เพียงหางกระต่าย จระเข้จึงไม่มีลิ้นและกระต่ายมีหางสั้นกุดจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 13,271

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,562