นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้ชม 1,800

[16.4258401, 99.2157273, นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล]

วันหนึ่งลูกเขยชวนพ่อตาไปโค่นต้นตาล ฝ่ายลูกเขยก็พูดว่า “เอ้าพ่อ ! พ่อฟันข้างนอกก่อนเลยฟันเปลือกมันก่อนนะพ่อนะ เดี๋ยวแก่นมันผมฟันเอง” ฝ่ายพ่อตาก็ฟันใหญ่เลยแล้วก็บ่นอีก “โอ๊ยขนาดเปลือกมันยังแข็งขนาดนี้นะเนี่ยไอ้หนู แล้วแก่นมันเอ็งจะฟันไหวรึ มันจะขาดให้เอ็งรึ” พอพ่อตาฟันเสร็จแล้วไอ้ลูกเขยก็ฟันบ้าง แต่มันฟันฉวบๆ เลย ก็ต้นตาลนะมันจะมีอะไรล่ะ ข้างในนะ ไอ้ที่ว่าแก่นแข็งๆ นะมันอยู่ข้างนอกรอบต้นมันนี่ ฝ่ายพ่อตาเห็นลูกเขยตัวก็ยังชมมันอีกว่า “เอ่อไอ้หนูเอ็งนี่แรงดีว่ะ ขนาดพ่อฟันแค่เปลือกมันยังหมดแรงเลยวะ”

เล่าโดย  นางแทน นุกูล

คำสำคัญ : นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : นิชรา พรมประไพ. (2562). หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเสน่ห์นิทานพื้นบ้าน เล่ม 2. กำแพงเพชร: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1378&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1378&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 8,401

ตำนานท้าวแสนปม

ตำนานท้าวแสนปม

ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา  ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 17,750

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,569

ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,037

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณ จำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่ง เป็นห้างทำไม้ของพะโป้ ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร.5 หรือบ้านพะโป้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,555

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

ณ เชิงเขาแหํงหนึ่ง มีกระท่อมอยูํหลังหนึ่ง ซึ่งมีตากับยายอาศัยอยูํ 2 คน มีอาชีพทำไรํทำนาอยูํบนเชิงเขา อยูํมาวันหนึ่งมีพระธุดงค์ได้มาปักกลดอยูํใกล้บ้านตากับยาย ตากับยายเลยคิดวำจะทำอะไรให้พระฉันดี ยายก็คิดวำผลไม้บนเชิงเขาก็ไมํคํอยมี กลัวพระจะฉันไมํอิ่ม ก็เลยคิดวำที่บ้านมีไกํอยูํ 1 ตัว และแมํไกํตัวนี้ได้มีลูกอีก 7 ตัว ยายจึงคิดจะทำแกงไกํถวายพระ แมํไกํได้ยินเข้าจึงร้องไห้ แล้วเอาปีกโอบลูกไกํทั้ง 7 ตัวไว้ แล้วบอกกับลูกวำ ลูกเอยพรุํงนี้เช้าแมํต้องตายแล้ว แล้วแมํไกํได้สอนลูกไกํทั้ง 7 ตัว วำให้รักกันให้มากๆ พอรุํงเช้ามาตาก็ก่อไฟไว้เพื่อที่เตรียมจะแกงไก่ พอลูกไกํเห็นตากำลังเชือดคอแมํไกํ ลูกไกํเห็นดังนั้นจึงเสียใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามแมํไกํทั้ง 7 ตัว ตาจึงได้ทำแกงไก่ถวายพระด้วยความที่ลูกไกํมีใจประเสริฐนึกถึงแม่ตัวเองตลอดเวลา จึงไปเกิดเป็นดาวลูกไกํ ทั้ง 7 จนถึงปัจจุบันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 34,932

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,394

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 10,401

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,268

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,020