ระบำคล้องช้าง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 10,408
[16.4336195, 99.4094765, ระบำคล้องช้าง]
ที่มา
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
วิธีการเล่น
ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
การแต่งกาย
หญิงจะนุ่งโจงกระเบน เสื้อแขนกระบอก ผ้าแถบคล้องคอ (ใช้คล้องฝ่ายชาย) ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อดอกคอกลม ผ้าขาวม้าผูกเอว
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลอง โหม่ง ฉิ่ง กรับ ฉาบ
เนื้อเพลง
คลองเถิดหนาพ่อคล้อง คล้องเถิดหนาแม่คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องได้ตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้วหวา ผูกไว้ที่ต้นยอ ช้างเถื่อนเข้ามาเกย มาเลยเอาข้างต่อ ต้นยอเล็กนักมักก็หักลงเอย คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง คล้องเถิดหนาแม่คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องได้ตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้วหวา ผูกไว้ที่ต้นทอง ใครเป็นเจ้าของ รีบมาจองเลยเอย คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง คล้องเกิดหนาแม่คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องได้ตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้วหวา ผู้ไว้ที่ต้นรัก พี่มาช้านัก อกต้องหักลงเอย (ซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง)
คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน
ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ระบำคล้องช้าง. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=124&code_db=610004&code_type=01
Google search
แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 28,033
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 2,775
โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,928
ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,745
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 28,409
เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,375
พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้น เรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่าน ร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูง มาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จําเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรม เข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 106
เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 22,618
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,017
ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,516