พิธีพลียา
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้ชม 285
[16.4157446, 99.4049967, พิธีพลียา]
เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน
“เมืองนครชุม” เป็นหนึ่งแห่งเมืองประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ตั้งอยู่ในตำบลนครชุมปัจจุบันบนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในด้าน ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาตั้งแต่อดีต “แกงขี้เหล็ก ” เป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาวนครชุมโบราณ ที่นำเอาใบอ่อนและดอกขี้เหล็กมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญเดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน กินเป็นกับข้าวและเท่ากับกินยาไปพร้อมกัน
นายชาติ มีชัย ปราชญ์ชาวบ้านนครุชม ผู้รู้ตำรายากล่าวว่า ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัว ยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน ทั้งนี้ อันเนื่องจาก“ขี้เหล็ก” เป็นพืชผักสมุนไพร ที่หาได้ง่ายตามท้องไร่ท้องนาหรือสวนหลังบ้าน นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายๆด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหารฯลฯ โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้นและราก นอกจากนี้ ขี้เหล็ก ยังมีสาร “บาราคอล” ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ ทำให้นอนหลับสบาย
คำสำคัญ : พิธีพลียา
ที่มา : เทศบาลตำบลนครชุม. (2558). พิธีพลียา. เข้าถึงได้จาก: http://www.nakhonchum.go.th/gallery/detail/11084/data.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1280&code_db=610004&code_type=01
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 444
รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 950
“การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก ๖ จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 483
ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 979
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น ผมของเด็กที่จะโกนจะแบ่งออกเป็น 3 ปอย ซึ่งประธานในพิธีจะตัดผมปอยที่หนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ตัดปอยที่สอง พ่อตัดปอยที่สาม เมื่อตัดครบสามปอยเรียบร้อยแล้วก็จะต้องโกนผมให้เกลี้ยงเกลา ถือว่าเป็นอันเสร็จพิธี
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,447
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 397
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 355
แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,732
จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 1,820
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,072