พระซุ้มเสมา
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 6,913
[16.4746251, 99.5079925, พระซุ้มเสมา]
พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก สามารถพบเห็นกันบ่อยจนชินตาคุ้นเคยกันดี เป็นกรุใหญ่ที่พบพระที่มีสภาพสวยงามสมบูรณ์ที่สุด เห็นจะได้แก่ กรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมักจะพบเพียงพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แม้ไม่ใช่พระยอดนิยมติดอันดับ แต่ด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงาม ทำให้หนังสือพระระดับเล่มครูสำหรับพระยอดนิยม อย่าง หนังสือภาพพระเครื่อง(สี) ยังต้องกล่าวถึง ในปัจจุบันจึงหาชมพระซุ้มเสมาทิศสภาพสมบูรณ์ได้ไม่งายนัก ราคาเล่นหาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเรือนหมื่นไปนานแล้วโดยเฉพาะพิมพ์กลางสภาพสวยสมบูรณ์ พุทธคุณว่ากันว่าเป็นยอดในทางแคล้วคลาด คงกระพัน
พระพิมพ์ "ซุ้มเสมาทิศ" นี้แบ่งออกตามขนาดได้เป็น 3 พิมพ์ ได้แก่พระซุ้มเสมาทิศพิมพ์เล็กหลายท่านเรียกขานรวมกันไปว่า “พระพิมพ์ซุ้มระฆัง” ซึ่งหากพิจารณาตามรูปลักษณะของทรงกรอบที่ล้อมองค์พระพิมพ์เล็ก จะคล้ายกับรูประฆังคว่ำส่วนพระซุ้มเสมาทิศพิมพ์กลางนั้น ลักษณะพุทธศิลป์จะแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่องค์พระจะมีขนาดใหญ่กว่า พระพักตร์รูปผลมะตูม ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ให้เห็นว่าเป็นพุทธศิลป์ของงานช่างสกุลอู่ทองชัดเจน แม้แสดงพุทธกิริยาประทับนั่งมารวิชัยบนอาสนะเช่นกัน หากแต่เป็นฐานเตี้ยมีจุดไข่ปลาภายใน พระซุ้มเสมาทิศพิมพ์เล็กมีพบทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน ส่วนพิมพ์กลางและพิมพ์ใหญ่ เท่าที่พบมักจะพบเห็นเป็นพระเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ทั้งชินเงินและชินแก่ตะกั่วมีไขแซมพระซุ้มเสมาทิศพิมพ์ใหญ่ บางท่านจะเรียกกันว่า “พระซุ้มจิก” สำหรับพุทธศิลป์ของพระซุ้มเสมาทิศ หากกล่าวโดยรวมสำหรับพระพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก คือ องค์พระจะมีขนาดเล็ก แสดงพุทธกิริยานั่งแบบมารวิชัยประทับบนอาสนะสูงเหนือฐานบัวจำนวนสองชั้น ภายในกรอบซุ้มทรงระฆังคว่ำส่วนปลายของซุ้มทั้งสองด้านมีกนกรูปเศียรนาค เหนือซุ้มปรากฏลายเถาพุ่มใบจิกปลายยอดแหลม มีทั้งแบบพื้นผนังเรียบและมีจุดไข่ปลาทั้งในเส้นคู่และตามแนวซุ้มสำหรับพระซุ้มเสมาทิศที่นำมาลงให้ชมกันองค์นี้ จัดเป็นพระพิมพ์กลาง สภาพสวยสมบูรณ์ เห็นรายละเอียดในพระพักตร์ค่อนข้างชัดเจน ขนาดเคยเป็นองค์ "นายแบบ" ให้นิตยสารพระเครื่องชั้นนำมาแล้ว สนใจเชิญติดต่อสอบถามกันเขามาได้เลยจ้า
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=162&code_db=DB0003&code_type=P003
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระซุ้มเสมา. สืบค้น 9 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=200&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 11,203
ที่ตั้งกรุพระวัดช้างรอบ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พระท่ามะปราง พระนางพญากำแพง พระเม็ดมะเคล็ด พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระท่ามะปราง พระลีลากำแพง พระอู่ทองกำแพง พระกลีบบัว พระงบน้ำอ้อยพิมพ์สิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,877
พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,203
พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.”
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 13,631
ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี 11 ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก 3 ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,946
ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,305
ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,664
พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 165,803
"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,212
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด...
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,795