เถาพันซ้าย
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 3,121
[16.4258401, 99.2157273, เถาพันซ้าย]
เถาพันซ้าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Spatholobus parviflorus (DC.) Kuntze จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรเถาพันซ้าย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เถาทองเลื่อย (ราชบุรี), เครือเขาคู้ (ประจวบคีรีขันธ์), กวางผู้ เครือเขาผู้ ตาลานเครือ (ภาคเหนือ), จานเครือ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ถู่กุ๊โพ๊ะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของเถาพันซ้าย
ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา
ใบเถาพันซ้าย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร หลังใบมีขนสีน้ำตาล ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสีเทา
ดอกเถาพันซ้าย ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงบริเวณซอกใบ ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ใบประดับเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ส่วนกลีบดอกเป็นสีชมพูแกมขาว รูปดอกถั่ว ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมกันเป็นสองกลุ่ม เกสรเพศเมีย มีรังไข่ที่มีขนสีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น
ผลเถาพันซ้าย ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน คล้ายปีก รูปขอบขนาน ขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีขนละเอียดสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่
สรรพคุณของเถาพันซ้าย
1. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และกะเหรี่ยงจะใช้ต้นและใบนำมาต้มกับน้ำดื่มบำรุงเลือด แก้เลือดลมเดินไม่สะดวก (ต้น, ใบ)
2. เถาใช้ปรุงเป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ (เถา)
3. ต้นและใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร (ต้น, ใบ)
4. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้ต้นและใบมาต้มกับน้ำดื่ม (ต้น, ใบ)
5. ใช้เป็นยากระตุ้นกำหนัด ช่วยทำให้มีบุตรง่าย ด้วยการใช้ต้นและใบมาต้มกับน้ำดื่ม (ต้น, ใบ)
6. ตำรายาพื้นบ้านจะใช้เปลือกต้นเถาพันซ้าย 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด (เปลือกต้น)
7. ใบสดนำมาขยี้กับปูนใช้ทาพอกเป็นยารักษาแผลสด (ใบ)
8. ต้นและใบนำมาตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด (ต้น, ใบ)
9. เถาใช้ปรุงเป็นยาทำให้เส้นเอ็นหย่อน (เถา)
ประโยชน์ของเถาพันซ้าย
คนอีสานจะนำใบอ่อนมาห่อขนมหรือใช้ประโยชน์แทนใบตองกล้วย
คำสำคัญ : เถาพันซ้าย
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เถาพันซ้าย. สืบค้น 16 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1603&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 9,259
ดีปลี (Indian Long Pepper) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถาล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก ดีปลีเชือก, พิษพญาไฟ, ปานนุ หรือประดงข้อ ส่วนชาวจีนเรียก ปิกผัววะ เป็นต้น ซึ่งต้นดีปลีนั้นหลายๆ คนมักสับสนกับพริกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกขี้หนู นิยมปลูกแบบใช้เถาที่นำไปชำจนกระทั่งเกิดรากงอก สามารถทนความแห้งแล้งได้ดี และเจริญเติบโตดีในดินร่วน ชุ่มชื้น และมีแสงแดดอยู่รำไร โดยเฉพาะในฤดูฝน อีกทั้งยังถือเป็นพืชสมุนไพรที่เก่าแก่ มีแหล่งผลิตอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยทางภาคใต้และภาคเหนือมักนิยมใช้เป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,022
ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,483
ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,016
ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 7,607
ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,261
ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,482
ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,249
เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,241
ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,030