หนามโค้ง

หนามโค้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,808

[16.4258401, 99.2157273, หนามโค้ง]

หนามโค้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia furfuracea (Prain) Hattink (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mezoneuron furfuraceum Prain, Mezoneuron glabrum sensu Baker, Mezoneurum furfuraceum Prain) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรหนามโค้ง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นวม (ลำปาง), งวม ผักงวม (อุตรดิตถ์), พาย่วม หนามโค้ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของหนามโค้ง

  • ต้นหนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหนามโค้ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก
  • ดอกหนามโค้ง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ
  • ผลหนามโค้ง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

สรรพคุณของหนามโค้ง

  • ฝักมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ฝัก)
  • รสเปรี้ยวฝาดของฝักใช้เป็นยาช่วยกัดเสมหะ (ฝัก)
  • ฝักใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อยอาหาร (ฝัก)
  • ใช้เป็นยาสมานท้อง (ฝัก)

ประโยชน์ของหนามโค้ง

  • ฝักอ่อนใช้ทำเป็นยำผักงวม ซึ่งเครื่องปรุงที่ต้องใช้จะประกอบไปด้วยฝักอ่อนผักงวม 2 กำ, พริกแห้ง 6-7 เม็ด, หอมแดง 4 หัว, ข่า 1 แว่น, ตะไคร้ 1-2 ต้น, ปลาร้าหรือกะปิ, เกลือ, ปลาสด และน้ำมะกรูด ส่วนขั้นตอนการทำนั้นให้โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้ละเอียดก่อน แล้วต้มปลาให้สุก แกะเนื้อครึ่งหนึ่งลงไปโขลกกับน้ำพริก หั่นฝักผักงวมให้เป็นฝอยละเอียด แล้วนำลงไปคลุกเคล้ากับน้ำพริกให้ทั่ว เติมน้ำปลาและเนื้อปลาแกะที่เหลือให้มีน้ำพอเปียก จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำมะกรูด เป็นอันเสร็จ ใช้รับประทานกับข้าวเหนียว

คำสำคัญ : หนามโค้ง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนามโค้ง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1763

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1763&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,038

ฝาง

ฝาง

ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,207

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,551

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,869

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,694

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,060

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,342

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 10,227

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 9,085

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,482