ผักชีลาว

ผักชีลาว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,613

[16.4258401, 99.2157273, ผักชีลาว]

ผักชีลาว ชื่อสามัญ Dill (อ่านว่า ดิล)

ผักชีลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชีลาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีเมือง (น่าน), ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร), ผักชี (เลย, ขอนแก่น), เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย

นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

สรรพคุณของผักชีลาว

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตาต่าง ๆ (เพราะมีวิตามินเอสูงมาก)
  3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (มีแคลเซียมสูง)
  4. ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว (ผลแก่)
  5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
  6. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  7. ช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  8. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (เบตาแคโรทีน)
  9. ช่วยขยายหลอดเลือด
  10. ช่วยบำรุงปอด (ผล)
  11. ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  12. ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  13. แก้หอบหืด (ผล)
  14. ช่วยแก้อาการไอ (ผล)
  15. ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล)
  16. ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร (ใบ)
  17. ช่วยลดอาการโคลิค (Baby colic) หรืออาการ "เด็กร้องร้อยวัน" ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม (ผล)
  19. ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร (ใบ)
  20. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  21. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือจะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ผลแก่)
  22. แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน (ต้นสด)
  23. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  24. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนนำมาต้มกินเป็นอาหาร (ใบ)
  25. แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
  26. ช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้นสด)
  27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
  28. ช่วยแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
  29. ช่วยแก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
  30. ช่วยทำให้ง่วงนอน (ผล)

ประโยชน์ของผักชีลาว

  1. ผลหรือเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย นำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น (ผล)
  2. ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า ผักชีลาวผัดไข่ ยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย (ใบ)
  3. ผลนิยมนำมาบดโรยบนมันฝรั่งบดหรือสลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร (ผล)
  4. ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว (ใบ)
  5. น้ำมันผักชีลาวนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตูว์ น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย (น้ำมันผักชีลาว)

คำสำคัญ : ผักชีลาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักชีลาว. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1697

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1697&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,162

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,377

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,900

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,504

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,278

มะฝ่อ

มะฝ่อ

มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,440

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,714

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,610

กระไดลิง

กระไดลิง

ต้นกระไดลิงเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบกระไดลิงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 7,691

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,259