มะขามแขก

มะขามแขก

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 8,098

[16.4258401, 99.2157273, มะขามแขก]

มะขามแขก ชื่อสามัญ Alexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna

มะขามแขก ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia angustifolia M.Vahl, Cassia angustifolia Vahl) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ลักษณะของมะขามแขก

  • ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า
  • ใบมะขามแขก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
  • ดอกมะขามแขก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะขามแขก หรือ ฝักมะขามแขก ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

สมุนไพรมะขามแขก มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้เป็นยาถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกำลังน้อย เด็ก คนที่เป็นริดสีดวง หรือผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝักแห้งที่มีอายุในช่วง 1 เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

สรรพคุณของมะขามแขก

  1. ใบและฝักมะขามแขกใช้ปรุงเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นำใบมะขามแขกประมาณ 2 หยิบมือ (ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝักประมาณ 10-15 ฝัก นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธีจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ สำหรับบางรายที่ดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้องมากกว่าฝัก) ให้แก้ไขด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝัก)
  2. ใบมะขามแขกช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  3. ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
  4. ช่วยถ่ายพิษเสมหะ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  6. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ฝัก)
  7. ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (ใบ)
  8. ช่วยถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก (ใบ)
  9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
  10. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
  11. ช่วยถ่ายโรคบุรุษ (ใบ)
  12. ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ใบ)
  13. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ใบ)
  14. มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
  15. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะขามแขก ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ และต้านเชื้อแบคทีเรีย

ประโยชน์ของมะขามแขก

  • ปัจจุบันมีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นสินค้าอย่างหลากหลาย เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น

ข้อควรรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทานมะขามแขก แต่สำหรับหญิงให้นมบุตร แม้ว่าสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) จะสามารถผ่านออกมากับน้ำนมได้เมื่อใช้ในขนาดปกติ แต่ว่าความเข้มข้นของสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อทารกที่รับน้ำนมแต่อย่างใด จึงสามารถใช้มะขามแขกเป็นยาระบายได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)
  • ห้ามใช้สมุนไพรมะขามแขกในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี
  • มะขามแขกมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ (Reynolds, 1989)
  • ผลข้างเคียงมะขามแขก สำหรับบางรายอาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
  • การใช้มะขามแขกเป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน โดยตัวยาจะทำให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวก
  • เมื่อใช้ในการรักษาอาการท้องผูก ควรใช้เป็นครั้งคราว หรือใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ส่งผลให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะขับถ่ายได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรใช้ยาสมุนไพรมะขามแขกเท่าที่จำเป็น และหันมารับประทานผักหรืออาหารที่มีกากใยอย่างจริงจัง ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ (Malmquist, 1980) และอาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุโพแทสเซียม ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ และอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ได้
  • การใช้มะขามแขกในทางที่ผิด อาจทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ามีลักษณะใหญ่และหนา (Finger clubbing)
  • การใช้มะขามแขกอาจทำให้กระดูกบริเวณข้อมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกเป็นยาระบายหรือแก้อาการท้องผูก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะก็จะไม่มีอันตราย แต่หากใช้กินวันละหลาย ๆ รอบ หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เสียน้ำจากการขับถ่ายมาก ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้
  • ไม่ควรใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ เพราะอาจจะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
  • หากจำเป็นต้องใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ คุณควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูง ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
  • มะขามแขกไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เนื่องจากมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากสิ่งที่ถูกจับออกนั้นจะเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย

 

คำสำคัญ : มะขามแขก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะขามแขก. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1695

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1695&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,912

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,217

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,731

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,985

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,660

พุทธรักษา

พุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 29,880

กระชับ

กระชับ

ต้นกระชับเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านของมันมีขนขึ้นประปราย ใบกระชับมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉก ริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยากสาก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ดอกกระชับมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ส่วนปลายท่อกลีบจะเป็นหยัก 5 หยัก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,415

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,857

สมอพิเภก

สมอพิเภก

สมอพิเภก (Belleric Myrobalan) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในป่า พบมากบริเวณที่ชุ่มข้างริมน้ำหรือแหล่งน้ำ นิยมใช้ประโยชน์จากผล และเปลือก ในด้านสมุนไพรทางยา และในด้านอื่นๆที่ได้จากต้น อาทิ การแปรรูปไม้ การให้ร่มเงา เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,437

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,483