ผักกะโฉม

ผักกะโฉม

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,788

[16.4258401, 99.2157273, ผักกะโฉม]

ผักกะโฉม ชื่อสามัญ Marsh weed
ผักกะโฉม ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Herpestis rugosa Roth, Limnophila roxburghii G.Don)[1] จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)
สมุนไพรผักกะโฉม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้มกบ (เชียงใหม่), ผักกะโสม (ภาคกลาง), จุ้ยห่วยเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยหุยเซียง (จีนกลาง), ผักแมงดา, โหระพาน้ำ เป็นต้น

ลักษณะของผักกะโฉม
        ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ
        ใบผักกะโฉม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น
         ดอกผักกะโฉม ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณส่วนยอดของลำต้นและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขน ดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วง กลางดอกแต้มไปด้วยสีเหลือง ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายปาก กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมี 3 กลีบ ส่วนปากบนมี 2 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย 1 อัน ไม่มีก้านดอก
         ผลผักกะโฉม ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ แบน แตกได้ มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมล็ดมีลักษณะกลมขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

สรรพคุณของผักกะโฉม
1. ใบใช้ปรุงเป็นยาธาตุช่วยเจริญอาหาร (ใบ)
2. ช่วยระงับความร้อน (ต้นและใบ)
3. ต้นใช้รับประทานเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ต้น)
4. ช่วยแก้อาการแน่นท้อง แน่นหน้าอก (ต้น)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร (ต้น)
6. หากมีอาการผิดปกติในทางเดินอาหารหรือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ให้ใช้ใบผักกะโฉมแห้ง 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
7. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
8. ต้นมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำ (ต้น)
9. ต้นและใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล (ต้นและใบ)
10. ใช้รักษาแผลพุพอง ด้วยการนำต้นสดปริมาณพอสมควร นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผล หรือนำมาตำพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
11. ต้นและใบมีรสหอมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษเหือด หัด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ (ต้นและใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกะโฉม
      ในต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งน้ำมันนี้จะเป็นสารประกอบของ phenylpropane และ sesquiterpene

ประโยชน์ของผักกะโฉม
      ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบก้อย น้ำพริก (ต้นยิ่งอ่อนยิ่งมีกลิ่นแรง)
      ใบผักกะโฉมมีกลิ่นคล้ายกับใบโหระพา ซึ่งสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือทำเป็นน้ำหอมได้

คำสำคัญ : ผักกะโฉม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกะโฉม. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1665

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1665&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,045

สาเก

สาเก

สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,491

ผักชีดอย

ผักชีดอย

ต้นผักชีดอย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 8-25 นิ้ว แตกกิ่งก้านสาขาใกล้กับโคนต้น มีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามดินหิน ทุ่งหญ้า หรือที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,586

มหาหงส์

มหาหงส์

ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,952

กล้วยหอม

กล้วยหอม

สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,630

แก่นตะวัน

แก่นตะวัน

แก่นตะวันสมุนไพร ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก เนื่องจากเป็นพืชที่มีประโยชน์สารพัด เพราะในหัวแก่นตะวันจะมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ อินนูลิน (Inulin) ซึ่งเป็นน้ำตาลเชิงซ้อน มีโมเลกุลของน้ำตาลต่อกันเป็นห่วงโซ่มากกว่า 10 โมเลกุล ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของสารชนิดนี้มันจึงกลายเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง และจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ของเรา

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,839

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักพบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 9,563

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ลักษณะทั่วไป  วัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี สูง 30-90 ซม.  ลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทโซยานิน ลำต้นแตกไหล เกิดเป็นลำต้นใหม่ ติดต่อกันไป  ใบออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น ใบกว้างใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ปลายใบมน ขนาดของใบความยาวก้านใบขึ้นกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่ ก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุน ลักษณะคล้ายผองนำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอดน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อชนิดสไปด์  ออกดอกได้ตลอดปี ในช่อหนึ่ง ๆ  มีดอกย่อย    6-30 ดอก มีก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน มีสีม่วง มีจุดเหลืองรวมกันเป็นรูปกรวย  ปลายแยกเป็น  6  กลีบ  มีเกสรตัวผู้  6 ตัว เกสรตัวเมียเป็นเส้นบาง ๆ ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,604

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,009

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,334