บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 12,121

[16.4258401, 99.2157273, บานไม่รู้โรยป่า]

บานไม่รู้โรยป่า ชื่อสามัญ Gomphrena weed, Wild globe everlasting
บานไม่รู้โรยป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena celosioides Mart. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของบานไม่รู้โรยป่า
         ต้นบานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด
         ใบบานไม่รู้โรยป่า ใบเป็นใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ผิวด้านบนมีขนขึ้นประปราย ส่วนผิวด้านล่างมีขนอุย
          ดอกบานไม่รู้โรยป่า ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น แบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก สีเขียว ส่วนกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 แฉก สีขาว เป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน (เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล) ก้านชูเกสรสั้น ลักษณะของก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดเยื่อบาง ๆ ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวมี 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ไม่มีกลิ่น
          ผลบานไม่รู้โรยป่า ผลเป็นผลเดี่ยว เมื่อผลแห้งแก่แล้วจะไม่แตก มีเปลือกแข็งและมีเมล็ดเดียว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะแบน ขนาดยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของบานไม่รู้โรยป่า
1. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก)
2. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินแก้ตาเจ็บ (ดอก)
3. ใช้เป็นยาแก้ไอ ไอกรน ระงับหอบหืด ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
4. ทั้งต้นใช้ผสมกับเถาเขี้ยวงู ลูกใต้ใบ สะเดาดิน และไมยราบเครือ นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เบาหวาน (ทั้งต้น)
5. ใช้แก้เด็กเป็นโรคลมชัก ด้วยการใช้ดอก 10 ดอก นำมาตุ๋นกับตั๊กแตนแห้ง 7 ตัว ใช้รับประทานเป็นยา (ดอก)
6. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้บิด (ดอก)
7. ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (ต้น)[1]บ้างว่าใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ดอก)
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และช่วยขับนิ่ว (ราก)
9. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ต้น)
10. ใช้เป็นยาแก้ระดูขาวของสตรี (ต้น)
11. ลำต้นและดอกนำมาตำผสมรวมกันใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ลำต้นและดอก)
12. ช่วยรักษาแผลผื่นคัน (ดอก)

การป้องกันและกำจัด
1. รดน้ำให้ดินนิ่มแล้วทำการถอนให้โคนต้นหลุดออกมาจากดิน แต่หากมีจำนวนมากจนไม่สามารถถอนได้หมดในคราวเดียว ก็ให้ตัดต้นออกก่อนที่ดอกจะแก่ จะสามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ในระดับหนึ่ง
2. ส่วนอีกวิธีคือการใช้สารเคมีกำจัดประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต (48% เอสแอล) ในอัตราที่ใช้ประมาณ 70 - 80 ซี.ซี. นำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และเพื่อให้ได้ผลในการกำจัดควรใช้ร่วมกับสารจับใบเพื่อการเกาะติดของสารเคมีกับใบพืช

ประโยชน์ของบานไม่รู้โรยป่า
1. มีความเชื่อว่า หากนำบานไม่รู้โรยป่ามาใช้ประดับในงานพิธีมงคลต่าง ๆ จะช่วยทำให้ชีวิตเจริญงอกงามแบบไม่โรยรา

คำสำคัญ : บานไม่รู้โรยป่า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บานไม่รู้โรยป่า. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1652

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1652&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,869

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,660

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,822

กระบก

กระบก

ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 15,037

ลำดวน

ลำดวน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น  เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร  ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,873

จันทร์ผา

จันทร์ผา

ลักษณะทั่วไป  ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล  ใบจะแตกออกเป็นช่อ  ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,652

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,574

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,695

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,569

ผกากรอง

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 10,986