ไทรย้อย

ไทรย้อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 12,941

[16.4258401, 99.2157273,, ไทรย้อย]

ไทรย้อย ชื่อสามัญ Golden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin's fig, Ficus tree
ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย เป็นต้น
ข้อควรทราบ : ต้นไทรย้อยใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ลักษณะของไทรย้อย
         ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นในระดับปานกลาง ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร
         ใบไทรย้อย ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 6-16 เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-2.8 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย
         ดอกไทรย้อย ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก[3] ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ช่อดอกของไทรก็คือผลที่ยังไม่สุกนั่นเอง แต่เป็นช่อดอกที่ได้รับการออกแบบมาให้ม้วนดอกทั้งหลายกลับนอกเข้าในเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ถ้านำมาผ่าดูก็จะพบว่าข้างในกลวง ที่ผนังมีดอกขนาดเล็ก ๆ จำนวนนับร้อย ๆ ดอก ด้านตรงข้ามกับขั้วผลไทรมีรูเปิดขนาดเล็กมาก และมีเกล็ดเล็ก ๆ ปิดซ้อนกันอยู่ โดยดอกไทรจะมีอยู่ด้วย 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกอลล์ ซึ่งดอกกอลล์ (Gall flower) จะมีหน้าที่เป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของ "ตัวต่อไทร" (เป็นแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่ช่วยผสมเกสรให้ต้นไทร)
         ผลไทรย้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน

สรรพคุณของไทรย้อย
1. รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ)
2. รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ)
3. รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (รากอากาศ)
4. รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ (รากอากาศ)
5. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (รากอากาศ)
6. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (รากอากาศ)
7. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่าง ๆ (รากอากาศ)
8. ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะที่มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานไม่ได้ร่วมด้วย) (รากอากาศ)
9. ช่วยแก้อาการอักเสบหรือลดการติดเชื้อ เช่น ฝีหรือรอยฟกช้ำ (รากอากาศ)
10. ตำรายาไทยจะใช้รากไทรย้อยใน “พิกัดตรีธารทิพย์” (ประกอบไปด้วยรากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ และรากมะขามเทศ) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม แก้กษัย แก้ท้องร่วง ช่วยฆ่าเชื้อคุดทะราด (รากอากาศ)

ประโยชน์ของไทรย้อย
1. ในป่าธรรมชาติ ต้นไทรนับเป็นที่อยู่อาศัย และผลยังเป็นแหล่งอาหารชั้นยอดของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะต้นไทรมีลำต้นแผ่กว้าง เต็มไปด้วยหลืบโพรง ทั้งนกนานาชนิด กระรอก ชะนี ลิง หรือแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง เก้ง กวาง หมูป่า ฯลฯ ต่างก็ชอบรับประทาน
     ผลของมัน อีกทั้งต้นไทรแต่ละต้นก็ติดผลในช่วงเวลาที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้ในป่าใหญ่ที่มีต้นไทรมาก ๆ จะมีผลไทรสุกไว้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เหล่านี้ได้ตลอดทั้งปี จึงช่วยทำให้เกิดสมดุลต่อระบบนิเวศทั้งในป่าและในเมืองที่ปลูก
2. รากอากาศสามารถนำมาพันเป็นวงกลมเพื่อประดับดอกไม้แห้งเป็นพวงมาลาได้
3. ต้นไทรย้อยนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีทรงพุ่มแผ่กว้างให้ร่มเงาได้ดี ต้องมีเนื้อที่ในการปลูกพอสมควร แต่ในปัจจุบันวงการไม้ประดับได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะย่อส่วนต้นไม้ให้มีขนาดเล็กลง การนำไม้ป่าทั้งหลายรวมทั้งไทรย้อยมาปลูก
    เป็นไม้ประดับจึงสะดวกมากขึ้น
4. ด้วยความที่ตัวพุ่มของต้นไทรย้อยเป็นพุ่มแน่นทึบ ประกอบไปด้วยใบไม้เรียงซ้อนกันหลายชั้น จึงช่วยกั้นแสงแดดหรือช่วยดูดแสงแดดร้อนจัดในยามกลางวันได้ อีกทั้งพุ่มใบที่แน่นทึบยังช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก ช่วยดูดซับควันพิษจากท่อไอเสีย
    รถยนต์และฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะอย่างยิ่งในการนำมาปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สถานที่ราชการ โรงแรม หรือแม้กระทั่งริมถนนและเกาะกลางถนน นอกจากนี้แล้วข้อดีอีกอย่างหนึ่งของต้นไทรย้อยก็คือ
    เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการดูแลรักษา ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน และสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทั่วไปอีกด้วย
5. คนไทยโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นไทรไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ทั้งปวงด้วย เพราะมีความเชื่อว่าต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีเทพารักษ์อาศัยอยู่ จึงช่วยคอยคุ้มครองพิทักษ์
    คนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขและปลอดภัย[4]แต่สำหรับบางคนก็เชื่อว่า ไม่ควรนำต้นไทรมาปลูกไว้ในบ้าน ไม่ใช่เพราะต้นไทรจะนำเรื่องร้ายเข้ามาในบ้านแต่อย่างใด แต่ด้วยเชื่อกันว่า ต้นไทรนั้นมีเทวดาสถิตอยู่ จึงอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาปลูก แต่ที่แน่ ๆ
    ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไทรนั้นมีรากเยอะ มีรากย้อยลงมาอาจดูเกะกะ มีนกมาถ่ายมูลเรี่ยราด รากจะแทงเข้าพื้นดินและแตกแยกออกไปโดยรอบ ทำให้สิ่งก่อสร้างบ้านเรือนหรือคอนกรีตเกิดการแตกร้าวและพังทลายได้ แถมบริเวณที่ปลูกต้นไทรก็ไม่สามารถ
    ปลูกไม้ชนิดอื่นได้เลย เพราะจะถูกรากไทรแย่งอาหารไปจนหมด แต่ก็อย่างที่ได้กล่าวมาว่า ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาย่อส่วนต้นไทรให้มีขนาดเล็กลงแล้ว จึงสามารถนำมาปลูกในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

คำสำคัญ : ไทรย้อย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไทรย้อย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1638

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1638&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,627

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,994

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 22,786

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,841

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 14,691

เผือก

เผือก

เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,828

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,737

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,619

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soya Bean, Soybean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วหนัง, ถั่วเน่า, ถั่วพระเหลือง หรือถั่วแระ เป็นต้น ซึ่งถั่วเหลืองนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลกกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นพืชที่ถือกำเนิดและรู้จักกันมาอย่างยาวนานประมาณกว่า 4,700 ปีเลยทีเดียว โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ส่วนของไทยเรานิยมปลูกมากทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,766

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,340