จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 4,229

[16.4258401, 99.2157273, จมูกปลาหลด]

จมูกปลาหลด ชื่อสามัญ Rosy Milkweed
จมูกปลาหลด ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcostemma secamone (L.) Bennett (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Periploca secamone L.) ส่วนอีกข้อมูลจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxystelma esculentum (L. f.) Sm.(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Oxystelma esculentum (L. f.) R. Br. ex Schult.[1], Periploca esculenta L. f., Sarcostemma esculentum (L. f.) R.W. Holm) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรจมูกปลาหลด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักไหม (เชียงใหม่), เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม), จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา), ผักจมูกปลาหลด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สอึก สะอึก (ภาคกลาง), กระพังโหม (ราชบัณฑิต) เป็นต้น

ลักษณะของจมูกปลาหลด
       ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป
        ใบจมูกปลาหลด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวแคบหรือเป็นรูปดาบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เนื้อใบบางเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบโค้งจรดกันใกล้ ๆ ขอบใบ ก้านใบสั้นและเล็ก ยาวได้ประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร
         ดอกจมูกปลาหลด ออกดอกเดี่ยวหรือบางทีออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่อาจมีดอกถึง 6-9 ดอก ดอกหนึ่งมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดูคล้ายรูปดาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ริมขอบกลีบดอกมีขน ด้านนอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมชมพู ส่วนด้านในเป็นสีชมพูมีลายเส้นสีม่วงเข้มและจุดประสีน้ำตาลอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้มีอับเรณูติดกันเป็นคู่จำนวน 5 คู่ ฝังอยู่ ปลายเส้าเกสรเป็นรูปห้าเหลี่ยมหุ้มเกสรเพศเมีย รังไข่มี 2 ส่วน ปลายติดกัน เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายรูปจานและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เวลาดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก
         ผลจมูกปลาหลด ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักแหลมโค้งเรียว โคนฝักกว้าง เปลือกนิ่ม ภายในพองลม ผลโตมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกด้านเดียวและจะเห็นเมล็ดติดอยู่กับไส้กลางผลเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่สีน้ำตาล ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ที่ปลายของเมล็ดมีขนสีขาวติดอยู่เป็นกระจุก กระจุกขนยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ช่วยทำให้สามารถลอยไปตามลมเพื่อกระจายพันธุ์ไปได้ไกลๆ

สรรพคุณของจมูกปลาหลด
1. ทุกส่วนของต้นจมูกปลาหลดเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น)
2. ทั้งเถามีรสขมเย็น เด็ดเอามาต้มกับน้ำ ใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ (เถา)
3. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ (ทั้งต้น)
4. รากมีรสขมเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง (ราก)
5. ใบและเถามีรสขม กลิ่นเหม็นเขียว ใช้คั้นเอาน้ำดื่มช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาแก้ไข้ (ใบและเถา)
6. ใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด (ทั้งต้น)
7. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ในเด็ก (ใบและเถา)
8. ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
9. ใช้แก้ประจำเดือนผิดปกติ (ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยารักษาบาดแผล รักษาแผลสด (ใบและเถา, ทั้งต้น)
11. น้ำยางจากต้นเป็นยางที่มีสารบางอย่าง มีรสขมเย็น สามารถนำมาใช้ชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้ (น้ำยางจากต้น)
12. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาขับน้ำนม (ทั้งต้น)
13. ต้นใช้ปรุงเข้ายาเขียวน้ำมูตร ยาเขียวมหาคงคา ยามหากะเพราและยาขนานต่าง ๆ อีกมาก (ต้น)

ประโยชน์ของจมูกปลาหลด
1. ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ หรือลาบ ก้อน น้ำตก ชาวอีสานจะใช้รับประทานร่วมกับลาบ ส่วนชาวใต้จะใช้ใบนำมาหั่นผสมกับข้าวยำ
    ส่วนผลก็ใช้รับประทานได้เช่นกัน
2. น้ำคั้นจากเถาและใบใช้ผสมในขนมขี้หนู ทำให้ขนมขี้หนูมีสีเขียว
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยนำมาปลูกลงในกระถางที่มีโครงเลื้อยพันได้ ดอกและใบมีเสน่ห์สวยงาม จึงช่วยเพิ่มสีสันให้กับอาคารบ้านเรือนและห้องรับแขกได้ อีกทั้งยังปลูกง่าย
    โตเร็ว และทนทานอีกด้วย

คำสำคัญ : จมูกปลาหลด

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จมูกปลาหลด. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1590

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1590&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,118

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,063

จันทนา

จันทนา

จันทนา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,401

ตะคร้อ

ตะคร้อ

ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นสั้น ไม่กลมเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น เป็นปุ่มปมและพูพอน แตกกิ่งแขนงต่ำ กิ่งแขนงคดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีน้ำตาลแดงเรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปกรวยหรอรูปร่มทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทา ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับตามปลายกิ่ง ช่อใบยาว 20-40 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับออกจากลำต้นตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 1-4 คู่ คู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดยาวและใหญ่สุด ขนาดใบกว้าง7-8 ซม. ยาว 16-24 ซม. แผ่นใบลักษณะ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบ เนื้อใบหนา ปลายใบมน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 23,906

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,543

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,564

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,714

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,607

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,327

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,366