เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 5,193

[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดปลาช่อน]

เกล็ดปลาช่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllodium pulchellum (L.) Desv. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedysarum pulchellum L., Desmodium pulchellum (L.) Benth., Meibomia pulchella
(L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรเกล็ดปลาช่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา), ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี), หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ, ภาคใต้), เกล็ดลิ่นใหญ่ ลิ่นต้น หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง), กาสามปีกเล็ก, เกล็ดลิ้น เป็นต้น

ลักษณะของเกล็ดปลาช่อน
         ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบขึ้นทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่า ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าสน ป่าไผ่ ชายป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 เมตร
         ใบเกล็ดปลาช่อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปฝ่ามือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง มีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม มน หรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่น มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนมีขนสั้นนุ่มขึ้นบาง ๆ เมื่อแก่จะเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสั้นนุ่มขึ้นหนาแน่น (หลังใบหยักเป็นลอนตามเส้นใบแบบขนาน ส่วนท้องใบก็เป็นลอนด้วยเช่นกัน) ใบย่อยด้านข้าง 2 ใบนั้นมีลักษณะรูปร่างคล้ายใบย่อยตรงกลาง แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบย่อยสั้น มีขนาดยาวได้ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีขน หูใบย่อยเป็นขนแข็ง ยาวคล้ายหาง ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แก่นช่อใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร
         ดอกเกล็ดปลาช่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกประมาณ 3-5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก แบบช่อกระจะจะค่อนข้างยาว โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแต่ละกระจุกจะมีใบประดับคล้ายใบประกบหุ้มไว้ 2 ใบ ใบประดับจะมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา เป็นรูปเกือบกลม ปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือเป็นรูปหัวใจตื้น มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร มีขนทั้งสองด้าน และมีใบประดับอีกหนึ่งใบอยู่ปลายสุด ลดรูปเป็นเส้นใบประดับย่อย ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขน ใบประดับหุ้มดอกและติดอยู่จนติดผล ก้านดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 4 แฉก แฉกบนและแฉกข้างมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนแฉกล่างจะมีลักษณะเป็นรูปไข่เช่นกัน แต่จะแคบและยาวกว่าแฉกอื่น ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบกลางจะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีก้านกลีบสั้น ๆ กลีบด้านข้างจะเป็นรูปรีแคบ ปลายมน โคนมีติ่ง มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ส่วนกลีบคู่ล่างจะยาวเท่ากับกลีบคู่ข้าง แต่จะกว้างกว่า รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 2-4 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียโค้ง ที่โคนมีขน
         ผลเกล็ดปลาช่อน ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หยักคอดเป็นข้อประมาณ 2-4 ข้อ มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ผิวฝักมีขน มีลวดลายแบบร่างแหชัดเจน ส่วนเมล็ดเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกและเป็นผลในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของเกล็ดปลาช่อน
1. เปลือกต้นใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคตา (เปลือกต้น)
2. รากมีรสจืดเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการผู้ป่วยทางจิต อาการเพ้อ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก อาการชักในเด็กทารก แก้ปวดฟัน เลือดจับตัวเป็นลิ่ม (ราก)
3. ใบมีรสจืด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้จับสั่น (ใบ)
4. ดอกใช้เป็นยาแก้อาเจียน (ดอก)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
6. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ราก)
7. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการตกเลือด แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ (เปลือกต้น)
8. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเกล็ดปลาช่อน นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคตับพิการ บรรเทาอาการตับทำงานผิดปกติ ส่วนตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ตับพิการ (ราก, ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้พยาธิใบไม้ในตับ (ทั้งต้น)
10. ใบใช้เป็นยารักษาแผลพุพอง (ใบ)
11. รากหรือเปลือกรากใช้ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม (ราก, เปลือกราก)
12. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดเส้น ปวดข้อ ปวดหลัง (ราก)
13. รากใช้ผสมกับรากกาสามปีกใหญ่, รากดูกอึ่ง, รากโมกมัน และรากหางหมาจอก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่งและร้องไห้)

ประโยชน์ของเกล็ดปลาช่อน
1. ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นต้นไม้มงคล จะใช้เมื่อเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง
2. ในทางอาหารจะใช้ยอดเกล็ดปลาช่อนนำมากินสด ๆ เป็นผักจิ้ม มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อย
3. ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติของโค กระบือ สำหรับแทะเล็ม ส่วนที่กินได้ (ใบรวมก้านใบย่อย) จะมีโปรตีน 16.7%, เยื่อใยส่วน ADF 34.47%, NDF 41.94%, แคลเซียม 0.84%,
    ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.52%, แทนนิน 3.74%

คำสำคัญ : เกล็ดปลาช่อน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดปลาช่อน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1568

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1568&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พิกุล

พิกุล

พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,982

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,708

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,529

จันทนา

จันทนา

จันทนา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,352

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,377

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,693

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,364

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,775

ยี่หร่า

ยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 35,969

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,233