วัดบาง

วัดบาง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 5,101

[16.473109, 99.5266479, วัดบาง]

           โบสถ์วัดบาง วัดแห่งนี้อยู่ท่ามกลางย่านเศรษฐกิจของกำแพงเพชร ด้านหนึ่งติดถนนราชดำเนิน 1 ด้านหนึ่งติดถนนเจริญสุข เมื่อเข้ามาในวัดจะมีบรรยากาศโล่งกว้าง ประกอบด้วยอาคาร (เสนาสนะ) ต่างๆ กระจายกันไป โดยมีเขตสังฆาวาสอยู่แยกออกไปอีกด้านหนึ่งอย่างชัดเจน โบสถ์หรืออุโบสถอยู่ตรงกลางของพื้นที่ มีวิหารหลวงพ่อเพชรอยู่เยื้องออกไปด้านข้าง มุขด้านหลังของอุโบสถล้อมด้วยกระจกใสรอบด้าน ก่อนที่จะเข้าไปไหว้พระกันอยากจะกล่าวถึงประวัติของวัดบางแห่งนี้กันก่อนดังนี้      
            วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าที่ชื่อวัดบางคงเป็นเพราะที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับคลองน้ำ ซึ่งแยกจากแม่ปิงไปสู่ "หนองรี" คลองน้ำดังกล่าวเรียกว่า "บาง" เมื่อวัดมาตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จึงตั้งชื่อ "วัดบาง" 
            วัดบางสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 58.4 ตารางวา  
             อาณาเขต
                ทิศเหนือ ติดต่อกับทางสาธารณะ
                ทิศใต้ ติดต่อกับถนนเจริญสุข 
                    ทิศตะวันออก ติดกับถนนวิจิตร
                ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเทศา  
             พื้นที่วัดเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในบริเวณตัวเมือง มีถนนล้อมรอบ การคมนาคมสะดวก อยู่ในย่านชุมชนตลาดการค้าอาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง 16 เมตร ยาว 28 เมตร กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและเจดีย์ 2 องค์
             วัดบาง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2430 มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ปีละ 21 รูป สามเณร 8 รูป (ข้อมูลที่เก็บเมื่อนานมาแล้ว) ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2515 เมื่อปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ประกาศรวม "วัดกุฎีหงษ์" ซึ่งเป็นวัดร้างเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบางอีกด้วย
              หลวงพ่อสุโขทัย พระประธานในอุโบสถ พระนามว่าหลวงพ่อสุโขทัย เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดบางพระพุทธลักษณะงดงาม
              หลวงพ่อสุโขทัย วิหารหลวงพ่อเพชร อำนวยการสร้างโดยพระธรรมาธิมุตมุนี พร้อมด้วยคณะกรรมการ ในระหว่างดำเนินการท่านได้มรณภาพเสียก่อน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2524 ต่อมาพระอธิการตุ่น อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดบาง พร้อมคณะกรรมการชุดใหม่ ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2526 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2528
              ภายในวิหาร ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรเป็นพระประธานในวิหาร โดยมีรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสอยู่ด้านหน้า
              หลวงพ่อเพชรวัดบาง หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดศิลปะแบบเชียงแสน ปางมารวิชัย ที่เรียกว่า สิงห์ ๑ ที่หาชมได้ไม่ง่ายนัก มีหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 5 นื้ว สูง 3 ศอก 1 คืบ มีพุทธลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่กว่าหลวงพ่อเพชรของจังหวัดพิจิตร ที่มีอายุกว่า 800 ปี เดิมทีหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดตอม่อ ปัจจุบันเป็นตลาดศูนย์การค้า ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดร้าง หลวงพ่อผิวอดีตเจ้าอาวาสวัดบางและหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จพร้อมด้วยชาวบ้านเห็นว่า ถ้าปล่อยให้หลวงพ่ออยู่ที่วัดตอม่อต่อไปก็คงไม่มีคนดูแล และอาจถูกมิจฉาชีพขโมยไปได้ ดังนั้น จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาที่วัดบาง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนหนทางต้องตัดไม้ทำเป็นเลื่อน ค่อยชะลอหลวงพ่อเพชรเลื่อนมา ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่นำหลวงพ่อมาถึงวัดบางได้ เจ้าอาวาสวัดบางเล่าว่า เบื้องต้นใต้ฐานขององค์หลวงพ่อเพชรมีการผุกร่อนตามอายุ ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารหลวงพ่อเพชรขึ้นเมื่อปี 2526 ก่อนจะอัญเชิญหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ที่ผ่านมาทางวัดไม่มีพระคอยดูแล จึงได้ปิดประตูวิหารไว้ ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ทราบว่าภายในวิหารมีหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ดังนั้นทางคณะสงฆ์และกรรมการจึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรเปิดประตูวิหารเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อเพชร ผู้ที่ทำการศึกษาและผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูปได้กล่าวว่า หลวงพ่อเพชรองค์นี้นับเป็นอันซีน Unseen กำแพงเพชร เพราะเป็นพระพุทธรูปยุคเชียงแสนที่เก่าแก่ เป็นพระเนื้อสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์เดียวที่สมบูรณ์ที่สุดซึ่งเหลืออยู่ในประเทศไทย ดูจาพระพุทธลักษณะแล้วผู้สร้างได้จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น และช่างที่สร้างต้องเป็นช่างหลวง จึงสามารถสร้างได้งดงามอยู่ที่หาที่ติมิได้

บริเวณวัดบาง 
              พระซุ้มกอ เป็นพระเครื่องที่เลื่องลือกันมากของกำแพงเพชร วัดบางจึงสร้างพระซุ้มกอองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางวัดให้ประชาชนได้นมัสการ
              เปิดให้สักการะทุกวัน ตั่งแต่เวลา 09.00-20.00 น.

ภาพโดย :  https://www.google.co.th/search?

คำสำคัญ : วัดบาง

ที่มา : http://www.touronthai.com/article/834

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดบาง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=284

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=284&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดอมฤต

วัดอมฤต

เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,685

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 699

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,518

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 969

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,847

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,678

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,758

วัดสิงห์

วัดสิงห์

อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,236

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,523

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,603