วัดป่าแลง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 1,772
[16.496712, 99.512096, วัดป่าแลง]
ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก
วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง วัดป่าแลงนี้มีวิหารขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มี หกห้องแต่ฐานวิหารต่ำมาก น่าจะสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน พระประธานไม่มี คงเป็นพระศิลาแลงที่ถูกทำลายเพื่อหาสมบัติ ที่ตนเองไม่ได้สะสมไว้ ฐานพระขนาดใหญ่งดงามได้สัดส่วน ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานทรงลังกาฐานแปดเหลี่ยม อันเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบของกำแพงเพชรโดยแท้ นอกกำแพงแก้วยังมีวิหารอีกหลังหนึ่ง หรืออาจเป็นโบสถ์ ขนาดเล็กมาก หรืออาจเป็นวัดเล็กๆอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน มีเจดีย์ราย อยู่ 9 องค์ บ่อน้ำขนาดใหญ่ 5 บ่อ เพราะสภาพของอรัญญิก แล้งน้ำ มีบ่อศิลาแลงที่มีร่องรอยการตัดแลงออกไป ขนาดใหญ่ 2 บ่อ ที่น่าแปลกคือมีลาน ที่ปูด้วยศิลาแลง เกือบทั้งบริเวณวัด อาจเป็นที่มาอีกชื่อหนึ่งของวัดป่าแลงสิ่งที่ขุดค้นพบที่วัดป่าแลง นอกจากพระเครื่องและพระบูชาจำนวนมากแล้ว ยังพบกระเบื้องดินเผาขนาดใหญ่ สำหรับมุงหลังคาตกอยู่เกลื่อนกลาด มีครกบดยา ตะคันดินเผาสำหรับจุดประทีปโคมไฟ
สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดของวัดป่าแลงคือ มีเจดีย์ทรงต่างๆ ที่แตกต่างกันแต่ละยุคสมัยถึงสามแบบคือ
1.เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงลังกาฐานแปดเหลี่ยมรูปทรงงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมของกำแพงเพชร แท้ๆ อาจหาชมองค์ที่สมบูรณ์ได้ที่วัดพระธาตุ ที่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
2. เจดีย์รายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมสุโขทัย ยังมีหลักฐานให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน
3. เจดีย์รายทรงระฆังคว่ำ ตามรูปแบบของ อยุธยา ยังอยู่ในสภาพที่พอสันนิษฐานได้
ลักษณะดั้งเดิมได้พังหมดแล้ว สันษฐานจากสิ่งที่เห็น วัดป่าแลงนี้น่าจะสร้างในยุคที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหลวง คู่กับเมืองพิษณุโลก หลังที่อำนาจแห่งสุโขทัยแตกสลายเป็น 2 ขั้ว อำนาจถูกแบ่งแยกเป็นกำแพงเพชร และพิษณุโลก จึงทำให้กำแพงเพชร มีหลักฐานทางโบราณสถาน
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
ภาพโดย : https://www.google.co.th/search?
คำสำคัญ : วัดป่าแลง
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NO.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดป่าแลง. สืบค้น 26 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=292&code_db=610009&code_type=01
Google search
เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,428
เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,520
"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 10,991
หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,474
เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 3,124
วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,714
อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,778
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 932
เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,898
วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,107