เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,807

[16.3627671, 99.6500943, เจดีย์ทรงปราสาท]

ชื่อวัด : 
       
เจดีย์ทรงปราสาท

สถานที่ตั้ง :
        อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
        เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน โดยได้ทำการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงนี้ตั้งแต่ในล้านนาจนถึงสุโขทัยที่สามารถเชื่อมโยงวิวัฒนาการต่อเนื่องไปจนถึงเจดีย์วัดพระแก้ว ในขณะที่ส่วนที่สองจะเป็นการศึกษาองค์ประ-กอบส่วนล่างของเจดีย์โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากส่วนแรกมาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านรูป-แบบ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดอายุของเจดีย์องค์นี้ได้ในที่สุดที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาท 
        เมื่อกล่าวถึง “เจดีย์ทรงปราสาท” คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงปราสาทหินแบบขอมที่พบอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน อันที่จริงแล้วหากเราพิจารณาถึงความหมายของคำว่า“เจดีย์” อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นระลึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ปราสาทหินที่สร้างขึ้นตามคติเทวราชาของศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนามหายานเหล่านั้นย่อมไม่อาจถือได้เป็นเจดีย์ตามที่เข้าใจกัน เพียงแต่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีลักษณะเป็นเรือนชั้นอันเป็นความหมายของคำว่า “ปราสาท” เท่านั้นเอง คำว่า “เจดีย์ทรงปราสาท”ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายปราสาทหินแบบขอม(ซึ่งปัจจุบันเราเรียกเจดีย์กลุ่มนี้ว่าปรางค์หรือเจดีย์ทรงปรางค์) “เจดีย์ทรงปราสาท” ในที่นี้หมายถึง เจดีย์ที่มีเรือนธาตุ เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นยอดแหลม 59 หากเรากลับไปพิจารณารูปแบบของเจดีย์วัดพระแก้ว
       จะเห็นว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทองค์หนึ่งเพราะมีลักษณะของการทำเรือนธาตุทั้งในผังสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมรวมถึงการทำยอดแหลมเป็นปล้องไฉนและปลียอด หากแต่เราจะใช้คำที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของเจดีย์ทรงปราสาทองค์นี้ที่มีการทำเจดีย์ยอดองค์เล็กสี่องค์ ประกอบอยู่ที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์ประธาน เราก็ควรเรียกเจดีย์องค์นี้ว่าเป็น “เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด”
       ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้เฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดเท่านั้น โดยจะได้ทำการศึกษาถึงที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปล้านนาและเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปะสุโขทัย และในตอนท้ายจะได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดและเจดีย์ วัดพระแก้ว สรรคบุรี ที่แสดงให้เห็นในองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์องค์นี้

คำสำคัญ : โบราณสถาน

ที่มา :

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เจดีย์ทรงปราสาท. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=1125

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1125&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,148

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,446

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,886

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,603

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,847

วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว

เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,620

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 969

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,361

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,758

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,558