เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 3,116

[16.3627671, 99.6500943, เจดีย์ทรงปราสาท]

ชื่อวัด : 
       
เจดีย์ทรงปราสาท

สถานที่ตั้ง :
        อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
        เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน โดยได้ทำการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงนี้ตั้งแต่ในล้านนาจนถึงสุโขทัยที่สามารถเชื่อมโยงวิวัฒนาการต่อเนื่องไปจนถึงเจดีย์วัดพระแก้ว ในขณะที่ส่วนที่สองจะเป็นการศึกษาองค์ประ-กอบส่วนล่างของเจดีย์โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากส่วนแรกมาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านรูป-แบบ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดอายุของเจดีย์องค์นี้ได้ในที่สุดที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาท 
        เมื่อกล่าวถึง “เจดีย์ทรงปราสาท” คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงปราสาทหินแบบขอมที่พบอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน อันที่จริงแล้วหากเราพิจารณาถึงความหมายของคำว่า“เจดีย์” อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นระลึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ปราสาทหินที่สร้างขึ้นตามคติเทวราชาของศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนามหายานเหล่านั้นย่อมไม่อาจถือได้เป็นเจดีย์ตามที่เข้าใจกัน เพียงแต่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีลักษณะเป็นเรือนชั้นอันเป็นความหมายของคำว่า “ปราสาท” เท่านั้นเอง คำว่า “เจดีย์ทรงปราสาท”ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายปราสาทหินแบบขอม(ซึ่งปัจจุบันเราเรียกเจดีย์กลุ่มนี้ว่าปรางค์หรือเจดีย์ทรงปรางค์) “เจดีย์ทรงปราสาท” ในที่นี้หมายถึง เจดีย์ที่มีเรือนธาตุ เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นยอดแหลม 59 หากเรากลับไปพิจารณารูปแบบของเจดีย์วัดพระแก้ว
       จะเห็นว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทองค์หนึ่งเพราะมีลักษณะของการทำเรือนธาตุทั้งในผังสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมรวมถึงการทำยอดแหลมเป็นปล้องไฉนและปลียอด หากแต่เราจะใช้คำที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของเจดีย์ทรงปราสาทองค์นี้ที่มีการทำเจดีย์ยอดองค์เล็กสี่องค์ ประกอบอยู่ที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์ประธาน เราก็ควรเรียกเจดีย์องค์นี้ว่าเป็น “เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด”
       ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้เฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดเท่านั้น โดยจะได้ทำการศึกษาถึงที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปล้านนาและเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปะสุโขทัย และในตอนท้ายจะได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดและเจดีย์ วัดพระแก้ว สรรคบุรี ที่แสดงให้เห็นในองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์องค์นี้

คำสำคัญ : โบราณสถาน

ที่มา :

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เจดีย์ทรงปราสาท. สืบค้น 20 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1125&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1125&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,770

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 10,968

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 3,116

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,387

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นใจกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านวังอ้อ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล แรกเริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ในสมัยหลวงปู่แดง ท่านธุดงค์มาเร่ิมเกิดเป็นวัดเต็มรูปแบบเมื่อปีพุทธศักราช 2512 คือวัดวังอ้อ มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีพระอธิการ ปัญญา ประภัสสะโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ กุฏิ 6 หลัง วิหาร 1 หลัง เมรุ  1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง นอกจากนี้วัดวังอ้อยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธอีกแหล่งหนึ่งของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,844

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,809

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,296

วัดอมฤต

วัดอมฤต

เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,412

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,498

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,895