แกงก้านคูน

แกงก้านคูน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 2,066

[16.5100231, 99.5174023, แกงก้านคูน]

       แกงก้านคูน หรือแกงคูน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้และเครื่องปรุงส่วนใหญ่ เป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก ในชุมชน

ส่วนประกอบ ได้แก่
       1. คูนก้านอ่อน 100 กรัม
       2. เนื้อปลาช่อนสด หรือปลาช่อนย่าง หรือกุ้งฝอย 100 กรัม
       3. มะเขือเทศลูกเล็ก 4 ลูก
       4. มะนาว 1 ผล
       5. ใบแมงลัก 3 ต้นใช้แต่ใบ

เครื่องแกง ประกอบด้วย
       1. พริกหนุ่ม 3 เม็ด
       2. หอมแดง 3 หัว
       3. กระเทียม 20 กลีบ
       4. ขมิ้นซอย 1 ช้อนโต๊ะ
       5. ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ
       6. เกลือ 1 ช้อนชา
       7. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง
       ให้เริ่มจากการแกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน คลุกกับเกลือและน้ำ แล้วจึงบีบน้ำออกเพื่อให้ก้านคูนนิ่ม โขลกเครื่องแกงรวมกันจนละเอียด ต้มน้ำสะอาดจนเดือด ละลายเครื่องแกงลงในน้ำเดือด ใส่ก้านคูนที่เตรียมไว้ลงในหม้อ หลังจากนั้น จึงใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือดใส่เนื้อปลาช่อน พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนจนเข้ากัน ปิดไฟ เป็นอันเสร็จ

ภาพโดย : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen

คำสำคัญ : แกงก้านคูน

ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). แกงก้านคูน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=638

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=638&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,187

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,652

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,190

เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว

ความพิเศษไม่เหมือนใครของเฉาก๊วยชากังราวคือเนื้อเฉาก๊วยที่นุ่มหนึบ ไม่ได้เหนียวจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ขาดง่าย ชนิดที่หาจากเฉาก๊วยเจ้าอื่นไม่ได้ เฉาก๊วยชากังราวเลือกใช้ต้นเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์จาก 3 ประเทศมารวมกัน แม้ในวันนี้จะมีการปลูกต้นเฉาก๊วยอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สูตรลับความนุ่มหนึบของเฉาก๊วยชากังราวนั้นเป็นการรวมกันของต้นเฉาก๊วยจากเวียดนามที่โดดเด่นในเรื่องของความหวาน ต้นเฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความนุ่มหนึบ และต้นเฉาก๊วยจีนที่มีรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดยต้นเฉาก๊วยจาก 3 ประเทศนี้จะปลูกในที่สูงและอากาศเย็น ทำให้เป็นต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดีกว่าต้นเฉาก๊วยที่ปลูกในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 3,370

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 11,718

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,550

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ เป็นขนมไทยที่เลียนแบบธรรมชาติ อาศัยฝีมือในการปั้น ส่วนใหญ่จะปั้นเป็นผลไม้ พืชผัก เช่น มะม่วงสุก มังคุด พริกชี้ฟ้า ชมพู่แก้มแหม่ม มะยม ฯลฯ สุดแต่ผู้ปั้นจะคิดประดิษฐ์ มักจะเป็นขนมที่มีไว้สำหรับรับแขกบ้านแขกเมือง หรือคนสำคัญ เพราะเป็นขนมที่มีหน้าตาสวยงาม จูงใจให้รู้สึกอยากรับประทานขนมที่มีสีสวยงาม ปั้นแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ที่ได้ชื่อว่าลูกชุบ ก็เพราะวิธีการทำให้ขนมมีส่วนเหมือนผักผลไม้ ก็ต้องชุบวุ้นเพื่อให้เกิดความเงาคล้ายผิวของพืชผลไม้นั้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,804

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว ขนมพื้นบ้านนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยการนำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างรวมกันแล้วนวดแป้งให้เข้ากันเติมน้ำให้แป้งละลาย พอได้ที่ นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน พอร้อนนำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในกระทะแล้วใช้ช้อนตักน้ำมันลาดตรงแป้งที่กำลังทอด แป้งก็จะฟูตรงกลาง ทำให้เหมือน ฝักบัว (แต่จะทอดได้ครั้งละ 1 ชิ้น เท่านั้น )

 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,607

ขนมถั่วกวน

ขนมถั่วกวน

"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,674

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด เป็นขนมไทยพื้นบ้าน นิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุ ในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันในหมู่ญาติมิตรในเทศกาลออกพรรษาเช่นเดียวกัน และยังเป็นขนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการรับประทานก่อนถึงเวลาอาหารมื้อเย็น หรือใช้เป็นเสบียงสำรอง เพื่อรับประทานระหว่างการเดินทางข้ามวันข้ามคืนยข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,657