การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,409

[16.2844429, 9325649, การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา]

 
               เทศกาลค๊องแย๊อ่าเผ่ว เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา” เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน มีการตะโกนร้องดังๆ โดยเด็กๆ ในหมู่บ้านจะมีการแต่งหน้าโดยใช้สีให้ดูน่ากลัวที่สุด ส่วนในมือนั้นถือดาบ หรือหอกที่ทำจากไม้ที่มีลวดลาย การตบแต่งอย่างละเอียด เด็กๆ ก็จะรวมกันเป็นกลุ่มหลายๆ คน เดินเข้าไปในแต่ละบ้าน โดยจะเข้าทางประตูหน้าและตะโกนร้องเสียงดังว่า "โช้ โช้ลิโลๆ" เพื่อให้สิ่งไม่ดีต่างๆ ที่อยู่ในบ้านหวาดกลัวและออกไปจากบ้าน ขณะที่เด็กเข้าไปในบ้าน เด็กสามารถที่จะค้นหาผลไม้ต่างๆ มารับประทานได้ บางครอบครัวก็จะนำแตงกวามาวางไว้ให้เด็กได้ลิ้มลอง จากนั้นเด็กก็จะเดินออกทางหลังบ้าน ระหว่างที่ออกไปก็จะมีการจุดปะทัดและยิงปืน เทศกาลนี้อาจถือเป็นเทศกาลที่นำไปสู่ฤดูกาลใหม่อีกฤดูกาลหนึ่ง คือจะเริ่มเข้าหน้าหนาว และหลังจากเทศกาลนี้เสร็จก็ยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย ได้แก่ การแต่งงาน การละเล่นเป่าแคน การออกไปล่าสัตว์ เสมือนการออกพรรษาของไทย 
               ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม
               วันที่ 1  ผู้หญิงก็จะออกไปตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาประกอบพิธีกรรมในบ้านของตน น้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อ่าข่าเรียกว่า “อี้จุ อีซ้อ” หมายถึงน้ำบริสุทธิ์ และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก ข้าวปุ๊กหรือห่อถ่องคือข้าวที่ได้จากการตำอย่างละเอียด โดยก่อน ที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จ หรือได้ที่แล้วก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็นึ่งต่อระหว่างที่รอข้าวสุก ก็จะมีการตำงาดำผสมเกลือไปด้วยเพื่อไม่ให้ ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้น ข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำพิธีเช่นกัน วันนี้ทั้งวันจะเป็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งนั้น ซึ่งสถานที่ในการทำพิธีกรรมก็จะเป็นทางฝั่งผู้หญิง ที่หิ้งผีบรรพบุรุษ “เปาะเลาะเปาะทุ” 
               วันที่ 2 วันนี้เป็นวันที่เด็กๆ จะทำเครื่องมือที่ใช้ในการไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านหรือชุมชน หลังจากที่ทำเครื่องมือเสร็จ เด็กๆ ก็จะพากันไปตะโกนไล่ตามบ้านต่างๆ ในวันนี้เด็กๆ ก็จะไล่กันจนถึงเย็น ส่วนทางผู้นำศาสนาก็จะมีการทำพิธี “โจ่ว ยอง ล้อ” คือเป็นการไหว้ครูในตำแหน่ง และมีการเลี้ยงอาหารแขก ซึ่งตำแหน่ง “โจ่วมา” จะประกอบพิธีไหว้ครูในพิธีนี้เท่านั้น ในพิธีก็จะมีการฆ่าหมู และผู้เฒ่าผู้แก่อวยพรให้กัน และกัน เมื่อถึงตอนเย็น เด็ก และผู้ใหญ่ก็จะมารวมตัวกันที่บ้านของผู้นำศาสนา “โจ่วมา” และนำดาบที่แกะสลักทั้งหลาย แล้วเดินออกไปปักไว้ทางเข้าประตูหมู่บ้าน โดยก่อนทีจะมีการปัก ก็จะมีการยิงปืนครั้งใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “ค้องแย๊จู่เออ” คือการรวมตัวยิงปืน เป็นการส่งท้าย
               เมื่อยิงปืนสร็จก็จะนำดาบใหญ่ อ่าข่าเรียกว่า “เตาะมา” ที่เป็นคู่ใหญ่ทำเสาพาด สิ่งนี้จะเป็นตัวที่ป้องกัน ไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในหมู่บ้านอีก ส่วนดาบเล็กๆ ก็ปักไว้ข้างๆ เสาประตูหมู่บ้าน เสร็จจากนี้ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน พอตกเย็น ก็จะมีการทำพิธี “ อ่าเผ่ว ล้อก่องอุเออ” คือการทำความสะอาด เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ และเก็บเข้าตู้บรรจุ เป็นอันว่าเสร็จพิธีไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน “ค้องแย๊อ่าเผ่ว”
 
ภาพโดย : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/01/images/img85.gif

คำสำคัญ : เทศกาลค๊องแย๊อ่าเผ่ว

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/1461

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=170

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=170&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 11,675

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,378

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 5,631

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,695

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,651

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,881

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,409

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,045

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,792

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,327