กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 5,695

[16.2844429, 98.9325649, กะเหรี่ยง (KAREN)]

        นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2526 พบว่ามีอยู่ราว 246,000 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นพวกโปวเสียร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นพวกสะกอทั้งสองพวกตั้งอยู่หมู่บ้านกระจายกันอยู่ในภาคเหนือตั้งแต่เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน และเรื่อยลงมาตามชายแดนตะวันตก รวม 15 จังหวัดลงไปจนถึงคอคอดกระ พวกโปวมักอยู่ทางใต้ของเชียงใหม่พบมากที่สุด ตากและกาญจนบุรี

        ประวัติการแบ่งเผ่า
        ชาวเขาในประเทศ ไทยแบ่งออกเป็นเผ่าใหญ่ๆ คือ กะเหรี่ยง แม้ว มูเซอ เย้า ลีซอ แลอีก้อ เผ่ากะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุดกระจายตัวอยู่แทบทุกจังหวัดที่มีชาวเขามีประชากรมากที่สุด มากกว่าครึ่ง หนึ่งของชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย จากข้อมูลการ สำรวจประชากรชาวเขาของศูนย์พัฒนาชาวเขาประจำจังหวัดต่างๆ พบว่า มีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ทั้งในภาคเหนือตอนบนลงไปกระทั่งถึงภาคกลางรวมทั้งสิ้น 15 จังหวัด เรียงจากมากไปหาน้อยคือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน กาญจนบุรี แพร่ ราชบุรี เชียงราย ลำปาง เพชรบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร ประจวบคีรีขันธ์ และสุโขทัย สิ่งจำเป็นที่สุดในการเริ่มต้นทำงานกับชาวกะเหรี่ยงก็คือ นักพัฒนาจะต้องเข้าใจซึ้งว่า "ชาวกะเหรี่ยงก็คือคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนเท่าเทียมกับผู้คนทุกเผ่าพันธ์" ชาวกะเหรี่ยง ทุกเผ่ามีนิสัยใจคออ่อนน้อม อ่อนโยน เป็นคนที่ชอบความสุภาพ นุ่มนวลการ แสดงออกใดๆ ก็ตามที่ไม่พอใจ ไม่ถูกใจจะต้องเก็บไว้ในใจในลักษณะ "น้ำขุ่นอยู่ข้างใน น้ำใสอยู่ข้างนอก"

        การแบ่งเผ่า
        ในระหว่างชาวกะเหรี่ยงด้วยกันได้แบ่งพวกตนออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ สะกอ โป และบเว(คะยา) ส่วนตองสู กะเหรี่ยงสะกอ มีประชากรมากที่สุดโดยจะพบเห็นทั่วๆไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือตอนบน รองลงไปคือ กะเหรี่ยงโป ส่วนกะเหรี่ยง บเว นั้นมีอยู่ไม่กีหมู่บ้านที่อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ว่ากันว่าการที่จะรู้ว่าเป็นกะเหรี่ยงเผ่าไหน สามารถจำแนกได้ง่ายๆ โดยฟังประโยคที่ทักทายตามวัฒนธรรมว่า "ไปไหนมา" กะเหรี่ยงสะกอ ใช้คำว่า "แล - ซู - ล่อ" หรือ "แล - เหลาะในบางพื้นที่กะเหรี่ยงโป ใช้คำว่า "ลี - คอ -แล่ " นั่นคือคำว่า "ไป"ในภาษาไทย หากเป็นภาษากะเหรี่ยงสะกอใช้คำว่า "แล" และหากเป็นกะเหรี่ยงโปจะใช้คำว่า "ลี " หรือหากแยกประเภทกันตามประสาชาวบ้านในพื้นที่ที่มีชาวเขาจะแยกกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป ไปอีกแบบหนึ่งเช่นมักจะเรียกกะเหรี่ยงสะกอว่า "ยางกะเลอ" และเรียกกะเหรี่ยงโปว่า"ยางเด้าะแด้ะ แต่ในแถบถิ่นอื่นๆ อาจเรียกไปอีกแบบหนึ่ง

        ประเพณี
        ด้วยความเชื่อต่อผีและวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรมเลี้ยงผี หมายถึงการต้มเหล้า ฆ่าไก่ - แกง เอาส่วนหนึ่งของเหล้าและแกงไก่มาทำพิธีกรรม และมัดมือทุกคน ผู้ร่วมพิธีนั้นด้วยฝ้ายดิบ ประเพณีที่สำคัญที่สุดคือ
        1. ประเพณีปีใหม่ ซึ่งมีขึ้นใน ราวเดือนกุมภาพันธ์โดยหัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณีจะระบุวันให้ทราบล่วงหน้า แต่ละปีไม่ตรงกันและแต่ละหมู่บ้านก็อาจมีวันปีใหม่ไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตรนั่นเอง หลังจากพิธีปีใหม่ผ่านพ้นคือการเริ่มต้น ฟัน - ไร่ข้าวบนภูเขา พิธีปีใหม่ทุกหลังคาเรือนจะหมักเหล้าต้มเหล้าจากข้าวสุก ฆ่าไก่หรือหมู แกงเป็นอาหารและเตรียมฝ้ายดิบไว้ผูกข้อมือทุกคน หัวหน้าหมู่ บ้านตามประเพณีจะเริ่มทำพิธีในบ้านของตนเป็นหลังแรกแล้วจึงจะไปทำพิธีในทุก หลังในหมู่บ้าน ซึ่งกว่าจะครบครันอาจกินเวลาถึง 3 วัน 3 คืน พิธีคือการริน เหล้าและนำเนื้อไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณ จากนั้นมีการ ดื่มเหล้าตามประเพณีแล้วจึงมีการมัดข้อมือด้วยฝ้ายดิบพร้อมกับคาถาอวยพรให้ อยู่เย็นเป็นสุข
        2. ประเพณีแต่งงาน คือความหวังที่รอคอยของหนุ่มสาว เจ้าบ่าวอาจมาจากหมู่บ้านอื่นมาแต่งงานและอยู่กับเจ้าสาวในบ้านและในหมู่บ้านของฝ่ายหญิง (เจ้าสาว) มาแต่ตัว สวมเสื้อผ้าเก่าๆ เป็นหน้าที่ของเจ้าสาวที่จะต้องทอเสื้อแดงและจัดหากางเกงพร้อมทั้งผ้าโพกหัวกับย่ามไว้ให้เจ้าบ่าวของเธอ ทั้งเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก หากมีฐานะดีก็อาจฆ่าวัวสักตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ ค่ำคืนในวันแต่งงานจึงมีแต่เสียงเพลงอวยพรจากวงเหล้าและวงอาหารแต่ไม่มีการเมาเกินเหตุ เหล้าและอาหาร มิใช่มีเพียงบ้านเจ้าสาวเท่านั้นแต่มีที่บ้านญาติพี่น้องจองเจ้าสาวทุกหลัง บางทีมีทั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่สนุกประทับใจและเป็นไปตามจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

        การแต่งกาย
        เพราะถือสาในเรื่องชู้สาว การไปไหนต่อไหนเป็นข้อห้ามและการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นความผิด จึงมีการแต่งกายของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่แยกแยะชัดเจนคือ สาวโสดจะสวมชุดทรงกระสอบสีขาว ยาวเกือบกรอมเท้า ทอเองด้วยมือโดยเครื่องทอแบบง่ายๆ ตามประเพณี หญิงแต่งงานแล้วสวมเสื้อครึ่ง ตัวแค่เอวสีดำ ประดับประดาด้วยลูกเดือยหรือฝ้ายสีและ สวมผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าสีแดง ผู้ชายสวมเสื้อสีแดงและสวมกางเกงแบบคนไทยภาคเหนือซึ่งเรียกว่า "เตี่ยวสะดอ"

คำสำคัญ : กะเหรี่ยง

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กะเหรี่ยง (KAREN). สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=1443

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1443&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,881

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,142

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,792

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,754

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 798

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,505

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,326

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,695

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,121

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,326