วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,279

[16.4630403, 99.5263337, วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)]

           วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์ พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ) ขณะนั้นโรงพยาบาลกำแพงเพชร ยังมีพื้นที่ติดกับวัดแห่งนี้เพราะไม่มีใครกล้าเข้ามาใช้สถานที่วัดเจ๊ก เพราะกลัวมากลือกันว่ามีผีดุ ปัจจุบันบริเวณท่าควายแห่งนี้เป็นบริเวณสามแยกไฟแดงหลังโรงพยาบาล  คลองที่เป็นท่าควายกลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนสายตัดใหม่ เดิมโรงพยาบาลกำแพงเพชรเป็นส่วนหนึ่งของเกาะแขก แต่เมื่อถมคลองเกาะแขกเลยหายไปในที่สุด เมื่อบิดาของผู้เขียนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ในปี 2506 ได้ไปเผ้าและไปชมวัดเจ๊กแห่งนี้ เป็นวัดร้างที่รกครึ้มมีต้นไม้ขึ้นมากมาย แต่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย ทุกคนกลัวมาก ๆ รั้วของโรงพยาบาลติดกับวัดเจ๊ก ที่เรียกว่าวัดเจ๊ก เพราะมีคนจีนครอบครัวหนึ่งมาทำพืชผักสวนครัวบริเวณนี้ เป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองจีน ราว พุทธศกัราช 2450 ประชาชนคนกำแพงเลยเรียกกันว่าวัดเจ๊ก ไม่ทราบเลยว่าแต่เดิมวัดแห่งนี้ชื่อว่าไร เหมือนวัดโบราณทุกวัดในกำแพงเพชร ตนจีนที่ทำสวนผักอยู่นั้นหายไปไหนไม่มีใครทราบ เพราะท่านไม่วิสาสะกับใครเลย แต่ก็นำผักมาส่งที่ตลาดบริเวณวัดบางหลังโรงแรมชากังราวถึงธนาคารกรุงเทพ เป็นตลาดสดเช้า ชาวกำแพงเพชรมาซื้อหาจ่ายตลาดบริเวณนั้น ต่อมาเรียกวัดเจ๊กว่าวัดสามจีน คงเห็นว่าเรียกว่าวัดเจ๊กไม่สุภาพ จึงเปลี่ยนเป็นวัดสามจีน เมื่อโรงพยาบาลกำแพงเพชรบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเจ๊กและนำพื้นที่ทั้งหมดของวัดเจ็กมาเป็นส่วนหนึ่งของ โรงพยาบาลกำแพงเพชรในที่สุด     
           วัดเจ๊กหรือสามจีนเป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองกำแพงเพชร และคู่โรงพยาบาลกำแพงเพชรมาชา้นาน วัดสามจีนแต่เดิมเป็นวัดร้างของกรมศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2496 ได้เริ่มทำการก่อสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชรขึ้นจึงได้ขอที่วัดสามจีน และที่ดินของกรมอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเกษตรกรรมที่ได้เลิกไปและทำการก่อสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชรขึ้น พระประธาน คือหลวงพ่อวัดสามจีน เป็นพระประธาน ศิลปะสมัยอู่ทองตามคำบอกเล่าของนายเกษม กล้าตะลุมบอน ซึ่งกล่าวว่า พระประธานเป็นสมัยอู่ทองคางคน ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่ามี คางคล้ายคน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นก่อด้วยอิฐ สันนิษฐานได้จากวัตถุก่อสร้าง เช่น ฐานเจดีย์ที่พบอยู่ข้างโบสถ์ด้านทิศเหนือ ก่อด้วย อิฐเก่าลักษณะเหมือนอิฐที่ก่อสร้างเจดีย์ตามวัดร้างในทุ่งเศรษฐีและที่อื่นในจังหวัดกำแพงเพชร เห็นว่าการก่อสร้างวัดนี้คงอยู่ในสมัยสุโขทัยร่วมกับอู่ทอง ในปี พ.ศ.2501 นายแพทย์ประธาน กาญจนาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายอินทร์ ดีสาร, นายวีระ อิ่มพิทักษ์, นายเกษม กล้าตะลุมบอน และผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายท่านได้ทำการบูรณะโบสถ์วัดสามจีนขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้เกิดพายุใหญ่พัดโบสถ์ พังทลาย โครงหลังคาฟาดทับพระประธานพระศอหัก พระเศียรและพระหัตถ์ข้างขวาเป็นปูนหัก กรรมการจึงได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธาทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสร้างโบสถ์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็กและให้ช่างปั้นปฏิสังขรณ์พระประธานใหม่ ในปี พ.ศ.2518 ได้ทำการลงรักปิดทองพระประธานในปี พ.ศ.2519 และปี พ.ศ. 2520 คณะกรรมการโบสถ์ได้ทำการก่อสร้างต่อเติมระเบียงรอบโบสถ์ โดยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ก่ออิฐฉาบปูน ผนังโบสถ์ รอบพระประธานพร้อมทั้งที่พื้นซีเมนต์ทำหินด้วยเกล็ดขัดมันบริเวณพื้นโบสถ์ด้านหน้า มีสภาพดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ วัดเจ๊กหรือวัดสามจีนกลายเป็นความหวังกำลังใจของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร มักจะบนบานศาลกล่าวด้วยพวงมาลัยทั้งแห้งและสด เป็นความสุขและความหวังของชาวกำแพงเพชรที่มารักษาตัวที่ โรงพยาบาลทุกคน

คำสำคัญ : วัดเจ๊ก, วัดสามจีน, โรงพยาบาลกำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร). สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1305

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1305&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,138

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,832

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,484

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,492

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,563

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,533

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,137

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,689

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,997

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,590