พิธีทำบุญยุ้งข้าว
พิธีทำบุญยุ้งข้าว เป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านกุยเลอตอ จังหวัดตาก ที่สะท้อนถึงความเคารพและขอบคุณต่อพระแม่โพสพและข้าว ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารหลักของชุมชน โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน พิธีทำบุญยุ้งข้าวถือเป็นการแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติและพระแม่โพสพ ที่คอยปกป้องและให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ชุมชนจะได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างความสามัคคีและเคารพต่อข้าวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต
15.7827979, 97.5949713
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 147
ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก
การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย
16.8784698, 98.8779052
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 853
ประเพณีขึ้นธาตุ
ตำบลพระธาตุเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ระมาด ซึ่งแยกเป็นตำบลมาจากตำบลแม่จะเรา มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน อีก 2 หมู่บ้าน เป็นชาวไทยพื้นราบ ชาวตำบลพระธาตุมีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่มีความผสมกลมกลืนกันไม่มีความขัดแย้งกัน และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในทุกปีหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ สำนักสงฆ์บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวตำบลพระธาตุและตำบลใกล้เคียง
17.0640255, 98.3370185
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 896
ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน
ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 8,080
พิธีทำบุญในไร่ข้าว
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
16.4258401, 99.2157288
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,178
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 171 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 107 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
บ้านริมน้าโฮมเสตย์ บริการห้องพักในราคาเป็นกันเอง สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ห้องแอร์/ทีวีเคเบิ้ลPSI/เครื่องทำน้ำอุ่น/ตู้มินิบาร์/พร้อมฟรี ห้องพ
พิพิธภัณฑ์เรือนไทย หรือ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในประกอบด้วยหมู
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยาและตองูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า
ต้นกระทงลายเป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง ใบกระทงลายเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี