น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้ชม 439

[16.3202082, 99.2722051, น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์]

บทนำ
         น้ำตกคลองน้ำไหลตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แม้จะพื้นที่อันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชรแต่ก็ยังมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร
         การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวที่เป็นการบ่งบอกถึง การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (sustainable tourism) ซึ่งจากการประชุม Globe 1990 ณ ประเทศแคนาดาได้ให้คำจำกัดความของการท่องเที่ยว แบบยั่งยืนว่า "การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวน รักษาโอกาสต่าง ๆ ของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจสังคม และความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย" โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นการท่องเที่ยวที่ดำเนินการภายใต้ขีดจำกัดความสามารถของธรรมชาติ และต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่มีต่อขบวนการท่องเที่ยว อีกทั้งต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องชี้นำภายใต้ความปรารถนาของประชาชนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ
         จากการลงพื้นที่น้ำตกคลองน้ำไหลเพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของน้ำตกคลองน้ำไหล และการจัดการพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์

ความเป็นมาของน้ำตกคลองน้ำไหล
         สืบเนื่องจากผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเทพ ไสยานนท์) ได้มีหนังสือที่ กส. 0215/230 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2521 ว่าน้ำตกคลองลาน อำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธารขาดการดูแลรักษา ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลายลงไป ทั้งนี้อยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา
         กรมป่าไม้จึงมีหนังสือที่ กส.0808/1114 ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2521 แจ้งให้ป่าไม้เขตนครสวรรค์ตรวจสอบ ได้รับรายงานตามหนังสือที่ กส.0809 (นว)/1596 ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2521 ว่าได้ทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลานไว้แล้ว เพื่อจะขออนุมัติกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพราะเห็นว่า มีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งน้ำตกคลองลานอยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขากำแพงเพชร กรมประชาสงเคราะห์ ป่าไม้เขตนครสวรรค์จึงได้ประสานงานกับจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินการขอกรมประชาสงเคราะห์ใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลาน จำนวน 5,000 ไร่ ที่อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดเป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ไม่ขัดข้อง จังหวัดกำแพงเพชรจึงมีหนังสือที่ มท. 0714/13/13438 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2521 แจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานเพื่อสงวนป่าต้นน้ำลำธารแห่งนี้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 192/2523 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2523 ให้นายปรีชา จันทร์ศิริตานนท์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปสำรวจและจัดพื้นที่บริเวณป่าคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพป่าทั้งไม้สักและไม้กระยาเลยสมบูรณ์มาก เป็นภูเขาสูง มีธรรมชาติสวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
         กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2525 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองลาน ในท้องที่ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลาน และตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2525 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 191 ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2525 เป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งที่ 44 ของประเทศ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2562, ออนไลน์)
         น้ำตกคลองน้ำไหลตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำ น้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง เนื้อที่ประมาณ 187,500 ไร่
         สภาพภูมิประเทศ น้ำตกคลองน้ำไหลตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์
         สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส ดู ฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม 17 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนมีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี
         น้ำตกคลองน้ำไหล หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ น้ำตกปางควาย อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 25 กิโลเมตร จากเส้นทางสายอุ้มผาง-คลองลาน ก่อนถึงอำเภอคลองลาน มีทางแยกด้านขวาเข้าสู่น้ำตก เรียกว่า “ถนนปางควาย” ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ถึงน้ำตกคลองน้ำไหล ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมา มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีแอ่งน้ำและความสูงต่างกัน
         น้ำตกคลองน้ำไหล มีลานหินที่นี่กว้างมากเป็นสีนิลวาววับเมื่อตัดกับสายน้ำ ลำธารสวยด้วยโขดหิน ในชั้นที่ 3 น้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ดูสวยงามทางฝั่งขวาไหลลงสู่แอ่งน้ำกว้างประมาณ 3 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้แค่ชั้นที่ 1-3 เท่านั้น (โครงการจัดระบบฐานข้อมูลทรัพยากรในเขตอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช, ม.ป.ป.)
         โดยระหว่างทางไปน้ำตกแต่ละชั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ระยะทางโดยประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเส้นทางศึกษาระบบนิเวศป่าภายในเส้นทางมีธรรมที่สวยงาม และมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ในเส้นทาง
         โดยมีป้ายสื่อความหมายให้รายละเอียดที่น่าสนใจรวมทั้งสิ้น 12 สถานี นักท่องเที่ยวสามารถเดินศึกษาธรรมชาติได้ด้วยตนเอง ประกอบไปด้วย
         สถานีที่ 1 “ไผ่” หญ้ามหัศจรรย์
         สถานีที่ 2 “สังคมพืช” โครงสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
         สถานีที่ 3 “ไทร” นักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าแห่งพงไพร
         สถานีที่ 4 ยางนา
         สถานีที่ 5 “ไลเดน” เพราะเราคู่กัน
         สถานีที่ 6 โป่ง
         สถานีที่ 7 ฟองน้ำธรรมชาติสถานี
         สถานีที่ 8 พืชเบิกนำ
         สถานีที่ 9 “พูพอน” ธรรมชาติผู้หยัดยืน
         สถานีที่ 10 เมื่อต้นไม้ล้มเอง
         สถานีที่ 11 ต้นยวนผึ้ง
         สถานีที่ 12 กล้วยป่า 

การจัดการพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว
         ในส่วนของการจัดการพื้นที่นั้นจะมีการแบ่งส่วนด้านนอกก่อนเข้าบริเวณน้ำตกคลองน้ำไหล ซึ่งจะแบ่งเป็นพื้นที่จอดรถ และพื้นที่ร้านค้า และเมื่อบริเวณด้านในจึงจะจัดการพื้นที่สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องสุขา และที่อาบน้ำ รวมถึงลานการเต็นท์ ซึ่งถูกจัดอยู่บริเวณด้านล่างก่อนทางขึ้นน้ำตก

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
         การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากแนวโน้ม 2 ประการมาบรรจบกันคือ แนวโน้มเกี่ยวกับการอนุรักษ์และแนวโน้มเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงเรื่องอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยมีสาระสำคัญเรื่องแนวโน้มเรื่องการอนุรักษ์ เกิดจากการที่ประชาชนเพิ่มขึ้น และภาวะทางเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ กิจกรรมการพัฒนาต่างๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองแร่ และการเกษตรเกิดขึ้นภายในบริเวณทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศ จนทำให้ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม และผลที่ตามมาคือความไม่ยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศต่างๆ ได้พยายามผสมผสานเรื่องของการอนุรักษ์เข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจ
         ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้มีบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ให้ความหมายและคำจำกัดความไว้มากมาย เป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่งและได้รับการอ้างอิงถึงเสมอ ที่สำคัญมีดังนี้
         Ceballos Lascurain (1991) อาจจะเป็นคนแรกที่ได้ให้คำจำกัดความของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ว่า "เป็นการท่องเที่ยว รูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติ โดยไม่ให้เกิดการรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ธรรมชาติ แต่มีวัตถุประสงค์ เพื่อชื่นชม ศึกษาเรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพพืชพรรณ และสัตว์ป่า ตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาติ เหล่านั้น"
         Elizabeth Boo (1991) ให้คำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ว่า "การท่องเที่ยวแบบอิงธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ อันเนื่องมาจากการมีเงินทุนสำหรับการปกป้องดูแลรักษาพื้นที่ มีการสร้างงานให้กับชุมชนหรือท้องถิ่น พร้อมทั้งให้การศึกษาและ สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม"
         The Ecotourism Society (1991) ได้ให้คำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ว่า "การเดินทางไปเยือนแหล่งธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทำลายคุณค่าของ ระบบนิเวศและในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนท้องถิ่น"
         Western (1993) ได้ปรับปรุงคำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของ The Ecotourism Society ให้สั้นและกะทัดรัด แต่มีความหมายสมบูรณ์มากขึ้นคือ "การเดินทางท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อแหล่งธรรมชาติซึ่งมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทำให้ชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนท้องถิ่นดีขึ้น"
         The Commonwealt Department of Tourism (1994) ได้ให้คำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คือ การท่องเที่ยว ธรรมชาติที่ครอบคลุมถึงสาระด้านการศึกษา การเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการจัดการเพื่อรักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืน คำว่า ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมยังครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นด้วย ส่วนคำว่าการรักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืนนั้นหมายถึง การปันผลประโยชน์ต่างๆ กลับสู่ชุมชนท้องถิ่นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
         เสรี เวชบุษกร (2538) ให้คำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ว่า "การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นธรรมชาติและต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่น ตลอดจนโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีอยู่ใน ท้องถิ่นด้วย"
         จากการให้ความหมายและคำจำกัดความการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ก่อให้เกิด การรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แต่มีวัตถุประสงค์อย่างมุ่งมั่นเพื่อชื่นชม ศึกษา เรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ และสัตว์ป่า ตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาตินั้น อีกทั้งช่วยสร้างโอกาส ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นด้วย (สฤษฏ์ แสงอรัญ, ม.ป.ป.)
         ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำตกคลองน้ำไหลนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งน้ำตกคลองน้ำไหลจะมีการจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างเป็นสัดส่วนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หากแต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมไทยนั้นมีความเชื่อมากมายซึ่งหลากหลายความเชื่อนั้นอาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับธรรมชาติ เห็นได้จากระหว่างทางเดินขึ้นน้ำตกนั้นมีการใช้ไม้ค้ำก้อนหินรวมถึงการสลักข้อความบนต้นไม้อีกด้วย
         ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อว่าไม้มาค้ำก้อนหินใหญ่ จะทำให้มีผู้ใหญ่ค้ำชู ช่วยต่ออายุให้ยืนยาว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ค้ำดวงชะตาไม่ให้ตกต่ำ ซึ่งการนำไม้มาค้ำหินเช่นนี้เป็นการทำลายธรรมชาติโดยตรง เพราะจะทำให้ก้อนหินเสียสมดุล (มติชนออนไลน์, 2561)
         การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
         1) การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หากธรรมชาติและระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบใดก็ตาม โอกาสที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเสื่อมโทรมลงหรือถูกทำลายลงก็มีอยู่สูง การให้ความรู้ความเข้าใจหรือการสร้างจิตสำนึกแก่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
         2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบแรกโดยตรง เพราะนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มักเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความปรารถนาหรือสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติในลักษณะต่างๆ และสภาพภูมิทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนธรรมชาติที่ยากลำบากต่อการเดินทางและท้าทาย
         3) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพราะการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นในระยะยาวมากว่ากิจกรรมอื่นๆ การเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว ทั้งทางตรงและทางอ้อม รูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การลงทุนเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่ำ การเป็นมัคคุเทศก์ การนำสินค้าที่เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านมาขาย แก่นักท่องเที่ยว และการจ้างงานในส่วนบริการอื่นๆ เป็นต้น 

บทสรุป
         จากการศึกษาพื้นที่น้ำตกคลองน้ำไหล พบว่าเป็นแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งมีพื้นที่บางลักษณะเป็นแอ่งน้ำเหมาะแก่งการเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในระยะทางไม่ไกลมากนัก อีกทั้งการจัดการพื้นที่นั้นมีการจัดการอย่างเป็นสัดส่วนเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการรักษาธรรมชาติและการจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว หากแต่ต้องย้อมรับว่าเมื่อเปิดพื้นที่ทางธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วนั้น การควบคุมคนและการกระทำต่างๆ เป็นไปได้ยาก อีกทั้งคนทั่วไปอาจยังขาดความเข้าใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แม้ปัจจุบันจะสามารถทำความเข้าใจและมีการจัดการระหว่างชุมชนได้อย่างลงตัว แต่ชุมชนกับเป็นกลุ่มคนเล็กๆ เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสร้างผลกระทบต่อสถานที่ได้ ดังนั้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์จึงเป็นสิ่งสำคัญเกินกว่าจะมองข้ามได้ เพื่อให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและรักษาธรรมชาติไปด้วยกัน

คำสำคัญ : น้ำตกคลองน้ำไหล การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยว

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2109&code_db=610002&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2109&code_db=610002&code_type=05

Google search

Mic

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หมู่ที่ 18 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านสวนส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลคลองลานพัฒนา ตามประวัติเดิมมีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงอยู่มาก่อนคาดว่าอาจเป็นร้อยปี ต่อมาจึงเริ่มมีคนไทยพื้นราบเข้ามาอยู่รวมกับคนไทยภูเขา ที่อยู่คู่กับคลองลานมาตั้งแต่สมัยยังเป็นป่าอยู่ ปัจจุบันบ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สิ่งที่ยังบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคือ ภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญๆ 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,682

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็ก ๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้วย

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,872

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน

อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,781

น้ำตกคลองน้ำไหล

น้ำตกคลองน้ำไหล

สืบเนื่องจากผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเทพ ไสยานนท์) ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2521 ว่าน้ำตกคลองลาน อำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธารขาดการดูแลรักษา ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลาย ลงไป ทั้งนี้อยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 1,723

วัดเขาแก้วศรัทธาธรรม

วัดเขาแก้วศรัทธาธรรม

วัดเขาแก้วศรัทธาธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 บ้านมอตะแบก ห่างจากบ้านคลองลาน ประมาณ 5 กิโลเมตร มีพระพุทธรัตนะบรรพต ขนาดหน้าตักกว้าง 19 ศอก สูง 19 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐ์ฐาน อยู่บนเนินเขา จัดสร้างโดยหลวงพ่อประเสริฐ สุธัมโม พร้อมด้วยคณะศิษย์ร่วมสร้างจากจตุปัจจัยของประชาชนที่เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา โดยประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาเส้นทางนี้ ก็จะสัมผัสและมองเห็นพระพุทธรัตนะบรรพตที่ประดิษฐานโดดเด่น อยู่บนเนินเขา

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,515

น้ำตกเพชรจะขอ

น้ำตกเพชรจะขอ

น้ำตกเพชรจะขอ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีความสูงเกือบ 100 เมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ในหน้าแล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองเพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,339

น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

น้ำตกคลองน้ำไหลกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

น้ำตกคลองน้ำไหล ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แม้จะพื้นที่อันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็ยังมีการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 439

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านวุ้งกระสัง

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านวุ้งกระสัง

ประเพณีเวียนเทียนเจดีย์ (หม่าบู๊โต๊ะ) เป็นพิธีความเชื่อของชุมชนเพื่อขอขมาสิงสาราสัตว์ ไม่ให้ทำร้ายให้แคล้วคลาดปลอดภัย ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เจ้าทาง ผีบรรพบุรุษ พระแม่ธรณี พระแม่โพสพ (ชาวกะเหรี่ยง นับถือว่าข้าวยิ่งใหญ่ที่สุด) ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่งบุญให้ดูแลลูกหลานให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อาหารของชาวกะเหรี่ยง จัดทำด้วยวัตถุดิบในพื้นที่ท้องถิ่น ปลอดสารพิษ เช่น ปลา ผัก เครื่องเทศ ปรุงอาหารแบบเรียบง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยดูแลสุขภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่ทำให้เป็นโรคอ้วน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,467

น้ำตกแม่กระสา

น้ำตกแม่กระสา

น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่มีความสวยงามมาก นอกจากนี้ยังเป็นน้ำตกที่สูงที่สูงที่สุดในบริเวณนี้ ด้วยความสูงกว่า 1,000 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น และแต่ละชั้นก็มีความสวยเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามระดับชั้น โดยมีบางชั้นที่มีความสูงถึง 270 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,371

น้ำตกเต่าดำ

น้ำตกเต่าดำ

"น้ำตกเต่าดำ" อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากที่ทำการอุทยานลึกเข้าไปประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำตกตลอดทั้งปี เส้นทางค่อนข้างลำบากมาก ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยง (บ้านโละโคะ) และหมู่บ้านม้ง (บ้านป่าคา) ซึ่งอาศัยอยู่ที่นี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว น้ำตกเต่าดำ ตั้งชื่อตามเต่าดำที่พบบริเวณนั้น ตอนนี้หาดูได้ยากมาก แต่ก็ยังมีอยู่บ้างแต่ก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว น้ำตกเต่าดำเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดแล้วใน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าแห่งนี้ ยังมีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามมาก อาจเป็นเพราะเส้นทางที่ยากลำบาก ทำให้คนไม่ค่อยเข้ามากัน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2019 ผู้เช้าชม 1,765