เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 2,591

[16.121008, 99.3294759, เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์]

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์
        ชุดผู้หญิงกะเหรี่ยงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน (โปว์)ชาวกะเหรี่ยงโปว์ในบางพื้นที่ยังนิยมทอผ้าด้วยมืออยู่ ชาวกะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี และตาก จะแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าสีแดงหรือสีชมพูเข้ม ทอเป็นลวดลายทั้งตัว ส่วนกะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์นั้นจะสวมเสื้อสีน้ำเงินเข้ม หรือ สีน้ำตาลไหม้ ปักทั้งผืน และจะสวมผ้าซิ่นสีแดง ปักลวดลายอย่างสวยงาม เวลาที่ชาวกระเหรี่ยงจังหวัดกาญจนบุรีแต่งชุดประจำเผ่ามาพบกันจะสังเกตได้ว่าไม่มีชุดใดที่มีลายทอเหมือนกันเลย เสื้อและผ้าซิ่นแต่ละตัวจะมีชื่อเฉพาะ ซึ่งลายทอและชื่อนี้จะถ่ายทอดต่อกันไปโดยการบอกเล่าจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง ไม่มีนักทอผ้าคนไหนที่รู้ลายทอผ้าหมดทุกลาย การทอย่ามโท้งพู้อุ่ง เป็นสิ่งหนึ่งที่บอกได้ถึงทักษะความสามารถของผู้ทอ ตัวย่ามโท้งพู้อุ่งนี้จะทอเป็นลายต่างๆ สิ่งที่ยากในการทอย่ามชนิดนี้ก็คือการที่จะต้องจำขั้นตอนต่างๆ

ภาพโดย :  https://www.gotoknow.org/posts/277649

คำสำคัญ : ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/277649

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=534&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=534&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,348

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,144

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 970

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,375

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยาและตองูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกาย ไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,591

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 715

ลายขิด

ลายขิด

ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,407

ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 726

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,157

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,502