ตะคร้อ

ตะคร้อ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 20,668

[16.5055083, 99.509574, ตะคร้อ]

ตะคร้อ ชื่อสามัญ Ceylon oak
ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Merr.[2] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pistacia oleosa Lour., Schleichera oleosa (Lour.) Oken[1]) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
ตะคร้อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กาซ้อง คอส้ม (เลย), เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก), ค้อ (กาญจนบุรี), เคาะจ้ก มะเคาะ มะจ้ก มะโจ้ก (ภาคเหนือ), ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง), ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กาซ้อ คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปั้นรั้ว (เขมร-สุรินทร์), ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์), บักค้อ ตะค้อ หมากค้อ เป็นต้น

ลักษณะของตะคร้อ
         ต้นตะคร้อ
 มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
           
ใบตะคร้อ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบออกเป็นคู่ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบย่อยติดเรียงตรงข้ามหรืออาจเยื้องกันเล็กน้อยประมาณ 1-4 คู่ โดยใบคู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยัก มีหางสั้น ๆ หรือติ่งสั้น ๆ โคนใบมนหรือสอบและมักเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนาเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีประมาณ 8-16 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบย่อยจะสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยใบอ่อนมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ
            
ดอกตะคร้อ ออกดอกเป็นช่อปลายยอดหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และช่อดอกมีลักษณะเป็นพวงแบบหางกระรอกห้อยลง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงหรือกลีบรวมมีขนาดเล็กมาก มีแฉกแหลม 5 แฉก ดอกไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ประมาณ 6-8 ก้าน ส่วนรังไข่มีลักษณะกลมและมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 ออวุล เกสรเพศเมียส่วนปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

              ผลตะคร้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยแหลมและแข็ง เปลือกผลหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวผลเกลี้ยงเป็นสีเขียวอมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดใสสีเหลือง ลักษณะฉ่ำน้ำ และมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของตะคร้อ
1. ราก เปลือกราก หรือทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้กษัย (ราก, เปลือกราก)
2. ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำแล้วนำมาเช็ดตัว (ใบแก่)
3. เนื้อผลเป็นยาระบาย รับประทานมากไปจะทำให้ท้องเสียได้ (เนื้อผล)
4. เปลือกต้นเป็นยาสมานท้อง (เปลือกต้น)
5. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)[1],[2],[5]บ้างว่าใช้แก้บิด มูกเลือดได้ด้วย โดยนำเปลือกต้นมาตำกิน (เปลือกต้น)
6. เปลือกต้นตะคร้อนำมาแช่กับน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย โดยใช้ร่วมกับเปลือกต้นมะกอก เปลือกต้นเป๋ยเบาะ เปลือกต้นตะคร้ำ (เปลือกต้น)
7. ช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งห้า)
8. ทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้ริดสีดวงภายนอกและภายใน (ทั้งห้า)
9. น้ำต้มจากเปลือกต้นตะคร้อช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ (Mahaptma and Sahoo, 2008) (เปลือกต้น)
10. ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
11. ทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้ฝีในกระดูก ปอด กระเพาะ ลำไส้ ตับ และม้าม (ทั้งห้า)
12. ใบแก่นำมาเคี้ยวให้ละเอียด ใช้ใส่แผลสดเพื่อปิดปากแผลไว้ จะช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)
13. ช่วยรักษาบาดแผลสดจากของมีคม ด้วยการนำเปลือกต้นบริเวณลำต้นที่วัดความสูงตามบาดแผลที่เกิด ขูดเอาเปลือกตะคร้อ นำมาผสมกับยาดำ (เส้นผม, ขนเพชร) แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (เปลือกต้น)
14. รากเป็นยาถอนพิษ เช่น อยากหยุดเหล้า ก็ให้นำน้ำต้มกับรากมาผสมกับเหล้าและใช้ดื่มตอนเมาจะทำให้ไม่อยากกินอีก ปริมาณการใช้เท่ากับราก 1 กำมือผู้กิน เหล้า 1 ก๊ง (ราก)
15. ใบใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกษัย (ใบ)
16. รากหรือเปลือกรากช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน (ราก, เปลือก)
17. เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง (ส่วนแก่นตะคร้อก็ใช้ได้เช่นกัน) (เปลือก)
18. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้นวดแก้อาการปวดไขข้อได้ (Palanuvej and Vipunngeun, 2008) (น้ำมันจากเมล็ด)
19. น้ำมันจากเมล็ดตะคร้อ ช่วยแก้ผมร่วง (น้ำมันจากเมล็ด)
20. น้ำมันสกัดจากเมล็ดสามารถนำมาใช้รักษาอาการคัน สิว แผลไหม้ได้ (Palanuvej and Vipunngeun, 2008) (น้ำมันจากเมล็ด)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะคร้อ
       มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกและลำต้นของต้นตะคร้อพบว่า สามารถช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการตายของเซลล์มะเร็งได้ (Pettit et al.,2000, Thind et al., 2010) และมีฤทธิ์ในต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย (Ghosh et al., 2011)

ประโยชน์ของตะคร้อ
1. ผลสุกหรือเนื้อหุ้มเมล็ดใสสีเหลืองและฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะนิยมรับประทานกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเนื่องจากเนื้อผลมีฤทธิ์เป็นยาระบาย การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้[1],[2],[4],[6] หรือนำผลมารับประทานจิ้มกับเกลือหรือนำมาซั่วกิน ส่วนผลที่หวานมากก็นำมากินกับข้าวได้ ส่วนเปลือกผลส่วนก้นสามารถนำมาตำใส่เปลือก ผสมกับเนื้อ หรือนำมาตำเหมือนตำส้มตำ[9] นอกจากนี้ยังสามารถนำผลมาทำเป็นอาหารหวานได้อีกหลายชนิด เช่น ตะคร้อแก้ว น้ำตะคร้อ ลูกกวาดตะคร้อ แยม ไวน์ เป็นต้น
2. เปลือกต้นนำมาขูดเอาแต่เนื้อเปลือกตำใส่มดแดง (เปลือกนางกินกับตำเหมี่ยงโค่น กินกับใบส้มกบ ส้มลม ตำใส่เครื่องข่าตะไคร้ พริก)
3. ใบอ่อนตะคร้อสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักแกล้มกับอาหารอีสานได้
4. เมล็ดใช้รับประทานได้แต่อย่าเกิน 3 เม็ด เพราะจะทำให้เมา หรือที่นิยมก็คือนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันสำหรับเป็นยาสมุนไพร หรือใช้เป็นน้ำมันสำหรับจุดประทีป
5. เปลือกนอกของต้นนำมาขูดผสมกับเกลือ ใช้เป็นยารักษาสัตว์ (ไม่ได้ระบุว่าใช้รักษาอะไร)
6. เปลือกต้นใช้สกัดทำเป็นสีย้อมได้ โดยสีที่ได้คือสีน้ำตาล ส่วนเปลือกตะคร้อผสมกับเปลือกก่อจะให้สีกากี
7. เนื้อไม้ตะคร้อสามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมไม้ทั่วไปได้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ทำไม้เสาเรือนบ้าน อาคารบ้านเรือน ด้ามเครื่องมือ ตะลุมพุก ลูกหีบน้ำมัน ลูกหีบอ้อย ทำเขียง ครก สาก สากตำข้าว กระเดื่อง ฟันสีข้าว ดุมล้อเกวียน ส่วนประกอบของล้อเกวียน ฯลฯ (แต่ต้องเป็นต้นมีอายุมากหน่อย) หรือนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ทำฟืนและถ่านชนิดดี
8. ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับล้างจาน ล้างห้องน้ำได้
9. ต้นตะคร้อใช้เป็นต้นไม้เพาะเลี้ยงครั่งได้ดี ซึ่งในประเทศอินเดียมีการใช้มานานแล้ว
10. ต้นตะคร้อสามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาได้ดี เพราะพุ่มใบมีลักษณะหนาทึบ เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่กว้าง อีกทั้งยังช่วยดึงดูดนกได้อีกด้วย

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตะคร้อ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=85&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=85&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตะคร้อ

ตะคร้อ

ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นสั้น ไม่กลมเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น เป็นปุ่มปมและพูพอน แตกกิ่งแขนงต่ำ กิ่งแขนงคดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีน้ำตาลแดงเรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปกรวยหรอรูปร่มทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทา ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับตามปลายกิ่ง ช่อใบยาว 20-40 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับออกจากลำต้นตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 1-4 คู่ คู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดยาวและใหญ่สุด ขนาดใบกว้าง7-8 ซม. ยาว 16-24 ซม. แผ่นใบลักษณะ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบ เนื้อใบหนา ปลายใบมน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 20,668

มะพร้าว

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ผลประกอบไปด้วยเปลือกนอก ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และชั้นสุดท้ายคือเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในจะมีน้ำมะพร้าว ถ้าลูกมะพร้าวแก่มาก เนื้อมะพร้าวจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด มะพร้าวเป็นผลไม้ที่นิยมกันอย่างมากในบ้านเรา คุณสมบัติเด่น ๆ ของมะพร้าวก็คือ ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ได้หมด ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวานเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังรวมไปถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้สอย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,946

สะเดา

สะเดา

สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,368

ผักชีลาว

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,028

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,211

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,366

มะนาวผี

มะนาวผี

มะนาวผี มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้นๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 2,636

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,170

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,226

กันเกรา

กันเกรา

กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,240