ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 1,137

[16.8778126, 98.8779071, ประเพณีตานก๋วยสลาก]

      ประเพณีตานก๋วยสลาก ในบางอำเภอบางส่วนกำหนดภายในเดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือคือก่อนออกพรรษา 1 เดือน)
      วัตถุประสงค์ เพื่อ
      1. รักษาเป็นประเพณี เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ 
      2. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ได้มีปัจจัยของใช้พอควรในสมณเพศ   
      3. จัดหากองทุนและสิ่งของใช้ประจำวัด    
      4. เสริมสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงในหมู่คณะ
      ตานก๋วยสลากเป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยการจัดของทยทานบรรจุในชะลอม (ก๋วย) ใบเล็กๆ ของไทยทานที่ใส่ในชะลอมจะเป็นพวกอาหาร ขนม  ผลไม้หรือของใช้อื่นๆ แล้วรวบรวมนำไปถวายพระที่วัด ไม่เฉพาะเจาะจงพระผู้รับ แต่จะถวายโดยการจับฉลาก

คำสำคัญ : ตานก๋วยสลาก

ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีตานก๋วยสลาก. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=732&code_db=DB0015&code_type=1

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=732&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,137

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 507

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 628

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 623

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 791

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 635

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 972

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,585

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,001

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป  1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,151