แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 605

[16.4789144, 98.4479731, แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก]

        การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร
        การล่องซุงใช้ทักษะสูงมาก คนที่ควบคุมแพซุง จะนำไม้ไผ่มาผูกให้เป็นทุนสำหรับลอยน้ำ เรียก “แพลูกบวบ” หลังจากนั้นจึงนำมาผูกกับท่อนไม้สักเพื่อช่วยพยุงให้ซึ่งเกิดการลอยน้ำได้ดีขึ้น บนแพซุง ชาวแพจะสร้างที่พักชั่วคราว และมีการสร้างบันไดสำหรับการปีนดูล่องน้ำ เรียกว่า พะอง คือไม้ไผ่ลำยาวที่มีตาของไผ่ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว เป็นลำไม้ไผ่สำหรับพาดขึ้นไปบนไม้หลัก เพื่อใช้ดูล่องน้ำในการบังคับแพซุง เนื่องจากแม่น้ำปิงไหลแรงและเชี่ยว จากการสัมภาษณ์เรื่องการล่องซุงและบรรยากาศแม่น้ำปิงเมื่อราวหกสิบสิบปีก่อน อาจารย์วิไลวรรณ อินทร์อยู่ และ อาจารย์ภัคกุล เอื้อมงคลกุล ชาวตรอกบ้านจีนเล่าว่า หากน้ำแม่ปิงไหลแรงเชี่ยวแพซุงจะแดก ส่งผลให้ไม้ซุงไหลลอยมาติดที่ตลิ่งหน้าบ้าน ชาวบ้านจะจับเอาซุงที่แตกจากแพลูกบวบกลางแม่น้ำปิงมาทำเป็นท่าน้ำไว้อาบน้ำล้างจานซักผ้า หากเจ้าของไม้มาเห็นจะรู้ว่าเป็นไม้ของตัวเองเนื่องจากห้างไม้จะตรอกตราสลักสัญญาลักษณ์ของห้างไว้ จะมาขอไถ่ไม้คืนจากชาวบ้าน
        ภาพที่ปรากฏคือภาพบรรยากาศของนายเย็น ต๊ะปินตา หัวหน้าอู่ไม้ตาก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(สาขาตาก) ถ่ายภาพบรรยากาศแม่น้ำปิงอันกว้างใหญ่ พร้อมด้วยแพซุงและพะองสำหรับเป็นที่สังเกตการณ์ของผู้ควบคุมแพซุงที่ล่องในลำน้ำปิงในอดีต

(อนุเคราะห์ภาพโดย คุณวรสิทธิ์ โพธิสุข ที่มาของเรื่อง วิทยานิพนธ์ นครินทร์ น้ำใจดี แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ตรอกบ้านจีน วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)

คำสำคัญ : แพ

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2036&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2036&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 497

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 777

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,764

การลอยโคม

การลอยโคม

ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 6,597

ซิ่นน้ำท่วม

ซิ่นน้ำท่วม

ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป

 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 513

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,387

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 578

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 837

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 938

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 935