อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 735

[16.8784698, 98.8779052, อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง]

      นับแต่ครั้งโบราณกาลเครื่องประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ที่ขาดไปไม่ได้คือ “เครื่องราชกกุธภัณฑ์” เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นเจ้าฟ้าราชาธิบดี มักปรากฏให้เห็นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ และพระราชพิธีอื่น ๆ
      ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรียก“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป
       ในเมืองตากของเราในปัจจุบันยังคงพบอาสานาพระเจ้าภายในวัดเช่นที่วัดพระบรมธาตุบ้านตาก วัดดอนมูลชัย เป็นต้น แต่ปัจจุบันจารีตการใช้อาสานาพระเจ้าเลือนหายไปจากงานพิธีกรรมอย่างเสียดายในท้องถิ่นของเราอาสานาพระเจ้าบางหลังถูกปล่อยให้ทอดทิ้งตามห้องเก็บของขาดการดูแลพุทธศิลป์อันเป็นพุทธบูชาตามจารีตเก่าก่อนคู่สังคมท้องถิ่นของเรา วัดวาไหนยังปรากฏโปรดช่วยเก็บรักษาดูแลพุทธศิลป์เป็นแหล่งเรียนรู้คู่ท้องถิ่นกันนะครับ

คำสำคัญ : อาสนา, เครื่องราชกกุธภัณฑ์

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/2508084752615050

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2033&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2033&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ต๋าแหลว

ต๋าแหลว

ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 3,513

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 889

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 968

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 735

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 9,497

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 536

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 522

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,089

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,693

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 370