ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 722
[16.8784698, 98.8779104, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง]
ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ได้มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะแตกต่างกับงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดอื่น เพราะ ส่วนประกอบของกระทงจะมีการนำ กะลามะพร้าว มาใช้เป็นส่วนใหญ่ เหตุที่มีการนำเอากะลามาเป็นส่วนประกอบนั้น เนื่องมาจากชาวเมืองตาก มีการนำเอามะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “ เมี่ยง ” โดยถือเป็นอาหารว่างที่ชาวเมืองตากรับประทานเป็นประจำหลังอาหาร ซึ่งมีมะพร้าว ถั่วลิสง ใบเมี่ยงหมัก เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากทำเพื่อรับประทานกันเองภายในครอบครัวแล้ว ยังมีการนำมาขายเป็นอาหารพื้นเมืองและได้รับความนิยมในภาคเหนือโดยทั่วไป กรรมาวิธีในการแปรรูปมะพร้าวเป็น “ เมี่ยง ” นั้น มีการขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทำ ส่วนกะลามะพร้าวจะถูกทิ้งไว้ในบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ไม่มีการนำเอามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ครั้นถึงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง ( วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านจึงได้ทดลองนำกะลาด้านที่ไม่มีรูมาทำเป็นกระทง โดยเอากะลามาขัดถูจนสะอาด ตกแต่งลวดลายสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วหล่อ เทียนขี้ผึ้ง ซึ่ง นำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสาม เดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนขี้ผึ้งเหล่านั้นมาหล่อใส่ในกะลา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ผู้นำไปลอย ก่อนที่จะปล่อยลงลอยในแม่น้ำปิง ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะเกิดสันทรายใต้น้ำ ทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามเป็นธรรมชาติ เมื่อนำ กระทงกะลา ลงลอย กระทงกะลาจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่อง จนสุดสายตา ซึ่งไฟในกะลาจะส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องน้ำ
คำสำคัญ : ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง
ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง. สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=680&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 816
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 4,024
ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,219
เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 273
ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 347
การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 480
การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 498
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 281
ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 483
หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 260