สร้อยคอชาวม้ง เย้า

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,134

[16.1466408, 99.3273739, สร้อยคอชาวม้ง เย้า]

        เมื่อศิลปะจากน้ำมือชาวเขา คือความละเมียดละไมที่กลั่นมาจากวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิต ที่นี่จึงเป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องเงินฝีมือชาวเขาเผ่าเย้า เช่น สร้อยคอ ต่างหู แหวน และกำไล ให้ทุกคนได้เลือกซื้อหาตามใจชอบ และยังสามารถชมวิธีการทำเครื่องเงินจากชาวเขาที่ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขาแห่งนี้ได้อีกด้วย 
        กลุ่มชาวเขาในพื้นที่อำเภอคลองลานมีความเชื่อว่า“เงิน” คือ สิ่งที่แสดงถึงความมีฐานะ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย หรือเป็นสมบัติ ของมีค่า สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าได้ และในความเชื่อถือว่าในตัวเงินมีวิญญาณอยู่ เป็นสิ่งที่ดี สามารถปกป้องหรือป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ ชาวเขาจึงนิยมสวมใส่เครื่องเงิน และผลิตขายเป็นจำนวนมาก
        ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินประเภทแหวน กำไลข้อมือ สายสร้อย ต่างหู จี้ห้อยคอ ฯลฯ เครื่องประดับเงินเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคตที่ดี เพราะตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของทศวรรษที่ผ่านมา สีอ่อนเป็นที่นิยมมาโดยตลอด และเครื่องประดับเงินก็เข้ากันได้ดีกับสีในโทนอ่อนจาง ในแง่ศิลปะเครื่องประดับได้ให้โอกาสศิลปินแสดงความรู้สึกของตนในรูปแบบดั้งเดิม หรือร่วมสมัยผ่านการประดิษฐ์เครื่องประดับแต่ละชิ้น เครื่องประดับเงินไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใดๆ ที่ผิวหนัง ดังนั้น ผู้หญิงจึงสามารถซื้อหาเครื่องประดับเงินได้โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน มีการผลิตสืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยบรรพบุรุษเช่นกัน เดิมการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นการผลิตและจำหน่ายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาจากผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม กรรมวิธีการผลิตแบบเก่าพัฒนาให้ทันสมัย เพื่อให้ได้การผลิตที่รวดเร็ว มีมาตรฐาน สามารถสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อขนาดกิจการเริ่มมีการขยายตัว ได้มีการพัฒนาการผลิตโดยอาศัยเครื่องจักรเข้ามาช่วย เพื่อให้การผลิตง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องประดับเงินจำนวนมากที่มีดีไซน์หรูในรูปแบบแปลกใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีโลหะเงินเป็นส่วนผสม และได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ในระยะหลังได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าเครื่องเงินที่เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยรสนิยมของผู้บริโภคนิยมประดับร่างกายที่ทันสมัยมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น ทั้งนี้รวมทั้งการนำเอาลูกปัดหรือหินสีมาประกอบเข้ากับเครื่องประดับเงินด้วย

ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

คำสำคัญ : กำไล แหวน เครื่องประดับ

ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). สร้อยคอชาวม้ง เย้า. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=398&code_db=DB0006&code_type=R003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=398&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 791

จักสานไม้ไผ่

จักสานไม้ไผ่

เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,310

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 คนมีกี่ทอผ้า 3 ตัวโดยใช้อาคารกลุ่มออมทรัพย์เป็นที่ตั้งทำการชั่วคราวสมาชิกลงทุนคนละ 1850 บาทสมาชิกกลุ่มได้รวมตัวกันจ้างครูฝึกสอนจาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาฝึกสอน 1 เดือนโดยใช้ ส่วนตัวของสมาชิก ปัจจุบันมีสถานที่ทำการกลุ่มจากกองทุนชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,395

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 833

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์

เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 850

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,416

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

ศูนย์นี้จะจำหน่ายเครื่องเงินฝีมือชาวเขาเผ่าเย้า เช่น สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ กำไล แหวน หากสนใจจะชมวิธีการทำและซื้อเป็นของฝาก เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,134

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 915

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,212

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,817