พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,387
[16.4880015, 99.520214, พระพิมพ์ชินปางสมาธิ]
ชื่อโบราณวัตถุ : พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
แบบศิลปะ : ศิลปะสุโทัย
ชนิด : สำริด
อายุสมัย : (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
ลักษณะ : เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย) จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)
ประวัติ : เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน
สถานที่พบ : พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.wikiwand.com
คำสำคัญ : พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
ที่มา : http://www.wikiwand.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพิมพ์ชินปางสมาธิ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=323&code_db=DB0014&code_type=F0022
Google search
เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาเเละเทพพนม ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่21-22) พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 984
หุ่นจำลองรูปมวยปล้ำ ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 765
ครกพร้อมซาก สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) พระครุวิเชียรธรรมดชติ เจ้าอาวาสวัดบาง อำเภอเมือง มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,982
หม้อตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒o-๒๓)
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,415
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,707
กระเบื้องเชิงชาย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,274
กระปุกลายคราม ศิลปะจีน สมัยรัชกาลวงศ์หมิง ราวต้น(พุทธศตวรรษที่ ๒๒) พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,526
โอ่งสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) พบที่ วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร มีขนาด สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 4,378
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,604
ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรตที่ 21-22)
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,683