ตะเกียงดินเผา

ตะเกียงดินเผา

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 3,151

[16.4880015, 99.520214, ตะเกียงดินเผา ]

ชื่อโบราณวัตถุ : ตะเกียงดินเผา
แบบศิลปะ : สมัยทวารวดี
ชนิด : ดินเผา
ขนาด : มีขนาด ยาว 10.5 เซนติเมตร
อายุสมัย : ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16
ลักษณะ : ตะเกียงดินเผาพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณไตรตรึงษ์เมื่อ พ.ศ.2527 เนื้อภาชนะค่อนข้างหยาบ ขึ้นรูปด้วยมือ รูปทรงตะเกียงนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนลำตัวซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายถ้วย ส่วนนี้เป็นส่วนที่ถูกซ่อมต่อเติมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากของเดิมแตกหายไป และอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนพวยของตะเกียง ส่วนปลายของพวยทำเป็นรูปทรงคล้ายถ้วยขนาดเล็ก ประโยชน์ใช้สอยของตะเกียงไว้สำหรับใส่น้ำมันตามไฟเพื่อให้แสงสว่าง ตะเกียงดินเผาลักษณะนี้ได้พบอยู่ทั่วไปตามชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองพระประโทน จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี เมืองโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมืองบน (โคกไม้เดน) อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์มาจากรูปแบบตะเกียงโรมันสำริดที่พบจากแหล่งโบราณคดีพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้บริเวณทางภาคใต้ของประเทศอินเดียในแคว้นอานธระ ยังพบตะเกียงดินเผาในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ตะเกียงดินเผาที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อาจเป็นของที่พ่อค้าอินเดียเคยนำเข้ามาใช้ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่เคยเป็นเมืองท่าสมัยทวารวดีกับชาวอินเดียซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม ตะเกียงดินเผาที่ค้นพบจากเมืองโบราณไตรตรึงษ์คงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อกับชาวอินเดียโดยตรง แต่น่าจะเป็นการติดต่อผ่านชุมชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอีกทอดหนึ่ง โดยสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในการเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ และเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
ประวัติ : พบที่เมืองโบราณไตรตรึงษ์ บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย :   http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

คำสำคัญ : ตะเกียงดินเผา

ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตะเกียงดินเผา . สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=315&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=315&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย 
          ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22) พบในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,824

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,030

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,114

เสมาหินชนวน

เสมาหินชนวน

ใบเสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21 - 22) มีขนาด สูง 245 เซนติเมตร กว้าง 74 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,566

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น  ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-15)  พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร

 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,078

เทวรูปพระอิศวร

เทวรูปพระอิศวร

พระอิศวร หรือ พระศิวะ เทพเจ้าที่สำคัญของศาสนาพราหม์ -ฮินดู พระอิศวรคือเทพแห่งการประสาทพร เทพแห่งพิธีบวงสรวง เทพแห่งเสียงเพลงการร่ายรำ ทรงเป็นผู้บำบัดอาการเจ็บป่วยและขจัดปัดเป่าทุกข์ ทรงมีความกรุณายิ่งกว่าปวงเทพทั้งหลาย เทวรูปพระอิศวรจึงเป็นประติมากรรมชั้นพิเศษสุดที่ทรงคุณค่าแสดงถึงความเชื่อความศรัทธาของบรรพบุรุษ ในด้านประวัติศาสตร์และประติมากรรม การหล่อโลหะในสมัยโบราณ อีกทั้งเป็นที่เคารพของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 510 ปีมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 3,517

เเท่นหินเเละหินบด

เเท่นหินเเละหินบด

เเทนหินเเละหินบด ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16-17)  พบที่เมืองไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,520

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด กว้าง 2.70 เมตร สูง 3.30 เมตร อายุสมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ อิฐ ฉาบปูน  ประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง พระกรรณทั้งสองข้างยาว ปลายงอนออก เม็ดพระศกเป็นก้นหอย พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงแบบพระองค์ ชายสังฆาฏิจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนอาสนาดอกบัว

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,106

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,093

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,675