ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 1,039

[16.8784698, 98.8779052, ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก]

เทพปุนเถากง ถือได้ว่าเป็นเทพประจำท้องถิ่นชาวจีนยึดแนวคิดความกตัญูญูเป็นที่ตั้งตามแนวคิดของขงจือ เมื่อไปลงหลักปักฐานในย่านถิ่นใดย่อมแสดงความกตเวทิตาด้วยการสร้างรูปเคารพและศาลเจ้าไว้เป็นเครื่องยึดโยงจีนด้วยกัน

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญโดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น(ข้อสันนิษฐาน) ต่อมาเรียกย่านนี้ว่าตรอกบ้านจีนหรือย่านบ้านจีน ต่อมากลุ่มจีนเหล่านั้นมีฐานะที่ร่ำรวย กลายเป็นกลุ่มคหบดีของเมืองตาก และต่างมีค่านิยมที่ทันสมัยส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือ ทำให้ในรุ่นลูกหลาน ล้วนเป็นข้าราชการสำคัญในจังหวัดและประเทศหลายท่าน และต่างพากันอพยพไปอยู่นอกชุมชน วิถีชีวิตแบบจีน ๆ ก็เลือนไปด้วย กอปรกับการขยายตัวเมืองส่งผลให้ย่านการค้าตรอกบ้านจีนซบเซาลงไปเกิดชุมชนการค้าใหม่บนถนนตากสิน มีการอพยพเข้ามาของจีนอีกกลุ่มหนึ่ง (จีนใหม่) จีนกลุ่มนี้ปัจจุบันยังคงมีบทบาททางการค้าในเมืองตากและเป็นผู้บูรณะศาลเจ้าเดิมในย่านตัวเมืองตากเก่าให้สวยงามเป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวจีนในปัจจุบัน

ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

คำสำคัญ : ศาลเจ้า

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/667464930010384

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2051&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2051&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 940

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,048

มหาชนก ร่วมสมัย

มหาชนก ร่วมสมัย

การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 524

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 795

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 991

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 554

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 631

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,018

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,013

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 562