โสก
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 7,689
[16.4258401, 99.2157273, โสก]
โสก ชื่อสามัญ Asoka, Asoke tree, Saraca
โสก ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca indica L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Saraca bijuga Prain) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
สมุนไพรโสก มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า โสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี), ชุมแสงน้ำ (ยะลา), ส้มสุก (ภาคเหนือ), ตะโคลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี), กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา), อโศก, โศก, อโศกน้ำ, อโศกวัด เป็นต้น
ลักษณะของต้นโสก
- ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในบ้านเราพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยจะขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร
- ใบโสก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ แกนกลางใบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 1-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกปลายใบมนหรือแหลม โคนใบกลม เป็นรูปหัวใจ หรือเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร แผ่นใบบาง เกลี้ยง ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร
- ดอกโสก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนฐานรองดอกยาวประมาณ 0.7-1.6 เซนติเมตร ดอกเป็นสีแสดจนถึงสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายมน ยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6-8 อัน เกสรเพศผู้ยาวพ้นจากปากหลอด รังไข่มีขนตามขอบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์
- ผลโสก ผลมีลักษณะเป็นฝักทรงแบน รูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ปลายฝักเป็นจะงอยสั้น ๆ ก้านฝักยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด เมล็ดโสกมีลักษณะเป็นรูปไข่แบน และฝักจะเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม
หมายเหตุ : แต่เดิมพรรณไม้ชนิดนี้จะใช้ชื่อว่า "โศก" หรือ "อโศก" แต่ความหมายมีแต่ความทุกข์ ความเศร้า จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "โสก" แทน และต้นโสก (Saraca indica L.) ที่กล่าวถึงในบทความนี้ ไม่ใช่ต้นเดียวกันกับต้นอโศกของอินเดีย (Asoka tree) ซึ่งเป็นชนิด Saraca asoca (Roxb.) de Wilde ที่ชาวอินเดียนิยมใช้บูชาพระและถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรัก โดยต้นอโศกชนิดนี้จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับต้นโสกหรือโสกน้ำมาก แต่ฝักจะมีขนาดที่เล็กกว่า และมีใบประดับหุ้มที่ก้านดอก
สรรพคุณของโสก
- ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ดอก)
- แพทย์พื้นบ้านในอินเดียจะนิยมใช้เปลือกและราก นำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต (เปลือกและราก)
- ดอกใช้เป็นยาแก้ไอ (ดอก)
- ดอกใช้กินเป็นยาขับเสมหะ (ดอก)
ประโยชน์ของโสก
- ใบอ่อนและดอกสามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร ทำแกงส้ม ยำ หรือรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกก็ได้[3] โดยคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย โปรตีน 2.1 กรัม, ไขมัน 1.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม, ใยอาหาร 1.2 กรัม, แคลเซียม 46 มิลลิกรัม, วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
- มีบ้างที่มีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกตามวัด ปลูกประดับอาคารสถานที่ ปลูกเป็นร่มเงาตามสวนสาธารณะต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพราะมีทรงพุ่มสวย และดอกมีสีสันสวยงาม แต่ควรปลูกไว้ริมน้ำ เพื่อเป็นฉากหลังของพื้นที่หรือให้ร่มเงา แต่จะไม่นิยมปลูกตามบ้าน
- นอกจากนี้ต้นโสกยังเป็นพืชล่อแมลง เช่น ผีเสื้อ เนื่องจากช่อดอกเป็นหลอดคล้ายดอกเข็มทำให้มีน้ำหวานมาก ผีเสื้อจึงมักชอบมากินน้ำหวานจากดอกโสก (อุทยานหลวงราชพฤกษ์)
- ในด้านของความเชื่อนั้น แท้จริงแล้วต้นโสก หรือ "อโศก" จะหมายถึง ความไม่มีโศกเศร้า เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ไม่โศกเศร้า เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งในทางพุทธศาสนาจะเรียกว่า "ความเมตตา" หาใช่ชื่อว่า "โศก" ที่หมายถึงของโศกเศร้าแต่อย่างใด
คำสำคัญ : โสก
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). โสก. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1753&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,067
น้ำนมราชสีห์ ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,752
หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 16,635
พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,280
ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,402
ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,240
อ้อย จัดเป็นไม้ล้มลุก มักขึ้นเป็นกอ ๆ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงและเป็นมัน มีลำต้นคล้ายกับต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดงถึงสีดำ และมีไขสีขาวเคลือบลำต้นอยู่ ลำต้นมีลักษณะกลมยาว เห็นข้อปล้องอย่างชัดเจน โดยแต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเปลือกเรียบสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ไม่แตกกิ่งก้าน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม ส่วนน้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา และมักมีรากอากาศขึ้นอยู่ประปราย โดยเป็นพืชที่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีแสงแดดจัด สามารถปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศไทย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือการใช้หน่อจากเหง้า
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 11,073
กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก
เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 4,826
หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,038
ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,962